ผิวหนัง (Skin)

รูปที่ 1 แสดงชั้นผิวหนัง

Skin

ผิวหนังของมนุษย์ มีหน้าที่ปกป้องอันตรายจากเชื้อโรคเช่นแบคทีเรีย และไวรัส รวมถึงควบคุมการสูญเสียน้้าออกจากร่างกาย ควบคุณอุณหภูมิ และรับความรู้สึกสัมผัส ผิวหนังโดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ชั้น คือชั้นหนังก้าพร้า (Epidermis) ชั้นหนังแท้ (Dermis) ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutis หรือ Subcutaneous fat layer)

ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวเป็นชั้นๆ ชั้นที่อยู่ติดฐานมากที่สุดเรียกเซลล์ชั้นฐาน (stratum Basal) ชั้นถัดมาเป็นชั้นที่เซลล์เหมือนมีหนามยื่นออกมา (stratum spinosum) ชั้นถัดออกมาอีกเป็นชั้นที่ในเซลล์เหมือนมีถุงเล็กๆบรรจุอยู่ (stratum granulosum) และชั้นนอกสุดเป็นชั้นที่เซลล์ตายพร้อมจะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคลเรียกชั้นนี้ว่า stratum corneum ภายในชั้นหนังก้าพร้านี้จะมีเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) แทรกตัวอยู่

ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นหนังก้าพร้า ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีทั้งเส้นใยเช่นคอลลาเจน อีลาสติน และสารโปรตีนเมทริกซ์นอกเซลล์ (extracellular matrix) พบปลายประสาทรับความรู้สึกสัมผัส และความร้อนอยู่ในชั้นนี้ นอกจากนี้ยังพบ รากผม (hair follicle) ต่อมไขมัน (sebaceous gland) หลอดเลือด (blood vessel) และต่อมเหงื่อ (sweat gland) บางบริเวณพบต่อมเหงื่อแบบอะโพคราย (apocrine)

ชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutis หรือ Subcutaneous fat layer) ประกอบไปด้วยชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางๆและไขมัน มีเซลล์กัดกินเชื้อโรคแมโครฟาจ (macrophage) อยู่ในชั้นนี้ รวมถึงหลอดเลือดและเส้นประสาท

ไขมันใต้ผิวหนังและเนื้อเยื่อประคอง (subcutaneous fat & retaining ligament)

รูปที่ 2 แสดงไขมันชั้นตื้น

ไขมันในชั้นใต้ผิวหนังจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือไขมันชั้นตื้น (superficial fat) และไขมันชั้นลึก (deep fat) ไขมันที่อยู่ในชั้นตื้นนี้จะถูกแบ่งเป็นส่วนๆด้วยเนื้อเยื่อประคองที่ยึดจากกระดูกมาที่ผิวหนัง โดยที่ไขมันใต้ผิวชั้นตื้นมีส่วนส้าคัญของรูปร่างใบหน้าและจะคงอยู่ตลอดชีวิต ในกรณีที่มีการลดน้้าหนักอย่างมากจะท้าให้ไขมันชั้นตื้นนี้หายไป รูปร่างของใบหน้าจะเหี่ยวและหย่อนคล้อย ส่วนไขมันชั้นลึกจะแบ่งเป็นส่วนๆอยู่ใต้ชั้นกล้ามเนื้อใบหน้า โดยจะอยู่บริเวณรอบเบ้าตา แก้ม และหน้าขมับ ไขมันชั้นลึกนี้จะเริ่มลดน้อยลงตั้งแต่อายุ 20-30 ปีขึ้นไปท้าให้ใบหน้าดูยุบตัวลง

กล้ามเนื้อใบหน้า (Facial muscles)

รูปที่ 3 แสดงกล้ามเนื้อใบหน้า

กล้ามเนื้อใบหน้าประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้แสดงสีหน้า (Facial expression muscles) และกลุ่มที่ใช้เคี้ยว (Mastication muscles) โดยกลุ่มที่ใช้แสดงสีหน้าจะมีจ้านวนมากอยู่ตามบริเวณต่างๆของใบหน้า ลักษณะเด่นของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้คือจะมีจุดเกาะต้นจากกระดูกมาสิ้นสุดที่ผิวหนัง ท้าให้เมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ท้างานก็จะดึงผิวหนังให้เคลื่อนที่ไปด้วยซึ่งเป็นการแสดงสีหน้านั้นเอง หากกล้ามเนื้อนี้ท้างานไปนานๆก็จะเกิดรอยย่นขึ้นบนผิวหน้าได้ ข้อสังเกตุรอยย่นที่เกิดขึ้นมักจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ ส่วนกล้ามเนื้อเคี้ยวมีทั้งหมด 4 มัด อยู่บนใบหน้า 2 มัด อีก 2 มัดอยู่ใต้กระดูกใบหน้า โดยกล้ามเนื้อเคี้ยวที่อยู่บนใบหน้าคือกล้ามเนื้อบริเวณขมับ และบริเวณกรามล่าง มัดที่นิยมฉีดโบท็อกซ์เพื่อให้ใบหน้าดูเรียวเป็นมัดที่อยู่ที่กรามล่าง

หลอดเลือดและเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Bloo
d supply and nerve innervation of face)

รูปที่ 4 เส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า

ใบหน้ามีหลอดเลือดที่เลี้ยงเป็นแขนงของหลอดเลือดที่มาจากบริเวณคอเรียก external carotid artery ซึ่งจะให้แขนงไปเลี้ยงใบหน้าด้วยแขนง facial artery ซึ่งจะพบได้ที่บริเวณกรามล่าง และจะวิ่งขึ้นไปหาหัวตา ระหว่างทางจะให้แขนงเลี้ยงริมฝีปาก และจมูก บริเวณด้านข้างของใบหน้าจะได้แขนงหลอดเลือดมาจากหลอดเลือดขวางใบหน้า (transverse facial artery) ส่วนบริเวณครึ่งบนของใบหน้าหรือบริเวณหน้าผากจะได้แขนงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและผ่านรูกระดูกออกมาเลี้ยงด้านนอก ส้าหรับเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณใบหน้าจะแบ่งเป็นเส้นประสาทที่รับความรู้สึก (sensory nerve) เป็นแขนงของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigeminal nerve) และเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อ (motor nerve) โดยเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าคือเส้นประสาทสมองคูที่ 7 (facial nerve)

รูปที่ 5 หลอดเลือดที่เลี้ยงใบหน้า

การดูแลและกระบวนการฟื้นฟู

ใบหน้าที่สวยงามควรเป็นใบหน้าที่ควรมีสัดส่วนเหมาะสม สมดุล ดูเป็นธรรมชาติ และเหมาะกับสังคมนั้นๆ เมื่อมีอายุรูปร่างของใบหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามไขมันที่ลดลง กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนและกระดูกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการมีเม็ดสีที่ไม่สมดุล หลอดเลือดฝอยขยายตัว รูขุมขนกว้าง ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น และเกิดรอยย่น ดังนั้นการท้าให้ใบหน้าของผู้หญิงยังคงความงดงามอยู่ได้โดย 4 วิธีการ ได้แก่ การปรับพื้นผิว (Resurface) การผ่อนคลาย (Relax) การเติม (Refill) การยกกระชับ (Redrop) โดยการใช้เทคนิคต่างๆตั้งแต่การใช้เวชส้าอางค์ จนไปถึงการฉีดโบท็อกซ์ ฉีดฟิลเลอร์ ยิงเรเซอร์ ร้อยไหม กระตุ้นด้วยคลื่นเสียง หรือแม้กระทั่งการผ่าตัด ซึ่งวิธีการต่างๆก็มีข้อดีที่พิสูจน์ได้ชัด และก็อาจมีผลเสียได้ ปัจจุบันก็มีการหาวิธีการใหม่ๆในการท้าให้กลับมาดูอ่อนเยาว์อีกครั้ง โดยการใช้ Platelet-rich plasma (PRP) therapy คือการใช้เกร็ดเลือดของตนเอง ซึ่งในเกร็ดเลือดพบว่ามีโปรตีนที่ส้าคัญหลายชนิดนอกจากจะท้าให้เลือดแข็งตัวแล้วก็จะมีโปรตีนกระตุ้นการเจริญของหลอดเลือด ของเซลล์ไฟโบรบลาสท์ในการสร้างเส้นใย พบว่าท้าให้ริ้วรอยเลือนลงได้ ส่วนการใช้การฝังเข็มเริ่มเป็นที่นิยมไปทั่วโลกโดยเชื่อว่าเป็นการสร้างความสมดุล กระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น และความยืดหยุ่นของใบหน้ามากขึ้น นอกจากนี้การนวดแบบทุยหนา (Tui Na) ซึ่งเป็นการนวดแบบโบราณของจีนเชื่อว่าการนวดจะทำให้สมดุลของพลังงานหยินและหยาง เพิ่มเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นและเป็นการซ่อมแซมแบบเป็นธรรมชาติ