ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ร่วมจัดกิจกรรม อาจารย์ใหญ่ไขความรู้ “โควิด ทำร้าย ทำลายปอดเราได้อย่างไร” ในงานมหิดลวิชาการ

เพื่อให้ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์พื้นฐานแก่นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา คณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งยังส่งเสริมให้นักศึกษา และบุคลากรได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในร่างกายมนุษย์มากขึ้นกว่าเห็นรูปในหนังสือ มีส่วนช่วยให้อยากศึกษาต่อทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งในงานนี้ได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา เป็นอย่างมาก

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

ที่มาและความสำคัญ

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ได้จัดกิจกรรมแสดงความกตัญญูที่ศิษย์พึงปฏิบัติต่ออาจารย์ใหญ่ ส่งเสริมจริยธรรมและปฏิบัติบูชาเพื่ออุทิศบุญกุศลแด่ท่านอาจารย์ใหญ่ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบของความเสียสละร่างของท่านเพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะกระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนได้ตระหนัก มีจรรยาบรรณ และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์พื้นฐานแก่นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษา คณะต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งยังส่งเสริมให้ นักศึกษาและบุคลากรได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นักเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศไทย

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในร่างกายมนุษย์มากขึ้นกว่าเห็นรูปในหนังสือ ได้เห็นความมีจิตใจที่ดีและความเสียสละของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา นอกจากนี้ยังเห็นว่าการได้มาเรียนรู้กับร่างของอาจารย์ใหญ่ มีส่วนช่วยให้อยากศึกษาต่อทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยมหิดลในอนาคต

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ:

จัดฐานปฏิบัติการเรียนรู้ตามระบบของร่างกาย ประกอบด้วย ระบบโครงกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบทางเดินสืบพันธุ์ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมร่างและอวัยวะในระบบต่าง ๆ

สถานที่จัดกิจกรรม:

ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

นักเรียน

วันที่จัดกิจกรรม:

6, 13, 20 พฤศจิกายน 2564

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

49 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ:

ภายในประเทศ

ที่ปรึกษา การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์: รศ.ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
เขียนข่าว: น.ส.วราภรณ์ เมือบศรี
Webmaster: ว่าที่ ร.อ.นเรศ จันทรังสิกุล

RELATED SDGs: 3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING

Goal 3: Good health and well-being