Post Tagged with: "Anatomy"
-
An anatomical study of the nasal foramina
Highlight การศึกษาพบว่ารูเปิดกระดูกจมูกประเภท I (หนึ่งรูเปิดภายนอก) เป็นประเภทที่พบมากที่สุด การทำความเข้าใจลักษณะทางกายวิภาคของรูเปิดนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษาทางคลินิก เช่น การผ่าตัดและการฉีดยาบริเวณจมูก ชื่องานวิจัย ภาษาไทย การศึกษากายวิภาคของรูเปิดกระดูกจมูก ที่มาและความสำคัญ รูเปิดของกระดูกจมูก (nasal foramen) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคที่สำคัญสำหรับการส่งผ่านเส้นเลือดและเส้นประสาทไปยังบริเวณจมูก โดยรูเปิดนี้สามารถพบในตำแหน่งและลักษณะที่หลากหลายในกระดูกจมูก การศึกษานี้ได้สำรวจประเภทและลักษณะของรูเปิดกระดูกจมูกในกะโหลกศีรษะแห้งจากประชากรไทยและอเมริกัน โดยมีการจัดประเภทและวัดขนาดรูเปิด พบว่าประเภท I (หนึ่งรูเปิดภายนอก) เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด ผลการศึกษาเน้นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจโครงสร้างรูเปิดนี้ เพื่อประยุกต์ใช้ในทางคลินิก เช่น การผ่าตัดและการฉีดยาบริเวณจมูก Abstract Purpose The […]
-
Single Nasal Bones: A Report of Two Cases
Highlight การศึกษานี้รายงานผู้ป่วยสองรายที่มีกระดูกจมูกชิ้นเดียว ซึ่งเป็นความแปรผันทางกายวิภาคที่พบได้น้อย การทำความเข้าใจลักษณะนี้มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและการรักษาในด้านโสตศอนาสิกวิทยาและศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า ที่มาและความสำคัญ กระดูกจมูกโดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูกคู่สองชิ้นที่รวมกันเป็นโครงสร้างของสันจมูก อย่างไรก็ตาม มีรายงานกรณีที่พบกระดูกจมูกเป็นชิ้นเดียว ซึ่งเป็นความแปรผันทางกายวิภาคที่พบได้น้อยมาก การศึกษานี้นำเสนอรายงานผู้ป่วยสองรายที่มีกระดูกจมูกชิ้นเดียว โดยใช้การถ่ายภาพรังสีและการตรวจสอบทางคลินิกเพื่อยืนยันลักษณะดังกล่าว ความสำคัญของการศึกษานี้อยู่ที่การเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความแปรผันทางกายวิภาคของกระดูกจมูก ซึ่งมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาในด้านโสตศอนาสิกวิทยาและศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า Abstract The nasal bones are important bony parts of the external nose and maxillofacial scaffold. Generally, the […]
-
The superficial peroneal neurocutaneous flap: a cadaveric study
Highlight การรักษาแผลที่ข้อเท้าโดยการปลูกถ่ายผิวหนังและเนื้อเยื่อจากหลังเท้าในอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มเสมือนจริง ที่มาและความสำคัญ บาดแผลบริเวณข้อเท้าที่ตื้นและเล็กสามารถรักษาโดยการเย็บปิดแผลปกติ แต่บาดแผลที่ลึกจนถึงเส้นเอ็นหรือกระดูกและกว้างเกินกว่าที่จะเย็บปิดควรรักษาด้วยการปลูกถ่ายผิวหนังและเนื้อเยื่อจากบริเวณใกล้เคียงกับแผลซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า ผู้วิจัยได้ศึกษาผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณหลังเท้าซึ่งถูกเลี้ยงโดยแขนงเส้นประสาทและแขนงหลอดเลือดจำเพาะเพื่อปลูกถ่ายทดแทนบริเวณแผลที่ข้อเท้าในร่างอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มเสมือนจริง ข้อดีของการใช้ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณหลังเท้าเพื่อรักษาแผลที่ข้อเท้า ได้แก่ เนื้อเยื่อหลังเท้ามีขนาดบางเพราะไขมันใต้ผิวหนังน้อยทำให้หลังปลูกถ่ายที่ข้อเท้าแล้วไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและการสวมใส่รองเท้า ทั้งเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายมีเส้นประสาทเลี้ยงจึงทำให้ผิวหนังบริเวณที่ปลูกถ่ายทดแทนสามารถรับความรู้สึกได้ และเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่หลังเท้า ณ ตำแหน่งเดิมยังเป็นปกติเนื่องจากหลอดเลือดหลักที่เลี้ยงเท้ายังคงอยู่ Abstract Background Soft tissue defects around the ankle are common and must be covered with thin and […]
-
SUPERKIDS นักวิทย์ เปลี่ยนโลก
ด้วยภาควิชากายวิภาคศาสตร์เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็ก ๆ ที่จะเป็นอนาคตของชาติ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งตรงกับเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี สำหรับในปี 2563 ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 มีคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 คือ “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ได้ร่วมจัดงานถนนสายวิทยาศาสตร์ ณ บริเวณลานตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บูธที่ 5 ในหัวข้อ “รักแท้ […]
-