RELATED SDGs:
Main SDGs: 3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING
Other SDGs: 4. QUALITY EDUCATION
เมื่อวันที่ 26-31 ตุลาคม 2562 ณ ห้องปฏิบัติการมหกายวิภาคศาสตร์ (AN1-301) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดอบรมโครงการฝึกหัตถการผ่าตัดในด้าน สมอง อวัยวะช่องท้องอุบัติเหตุ ศัลยกรรมตกแต่ง ผ่าตัดช่องท้องโดยผ่านการใช้กล้อง และการใช้หุ่นยนต์ และการศึกษาวิจัยทางศัลยศาสตร์ (ครั้งที่ 2) เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำหัตถการทางการแพทย์ ให้กับแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดให้มีความชำนาญก่อนนำไปทำหัตถการกับผู้ป่วย การใช้ร่างอาจารย์ใหญ่เสมือนจริงที่มีความนิ่มเท่าคนปกติ (soft cadaver) ที่เตรียมโดยภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จึงมีความจำเป็นให้การฝึกหัตถการที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้านดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดจะได้รับการฝึกปฏิบัติภายใต้การดูแลและแนะนำ จากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ โดยจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไป
ที่มาและความสำคัญ
โครงการ Soft cadaver Workshop เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือสถาบันการแพทย์อื่นๆ จัดทำเพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำหัตถการทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น การฝึกผ่าตัด ให้กับ นศพ.ชั้นคลินิก (ปี5-ปี6) แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดได้ฝึกทำหัตถการก่อนนำไปรักษาคนไข้จริงๆ โดยได้รับการฝึกฝนจากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์จึงมีการเตรียมร่างอาจารย์ใหญ่เสมือนจริงแบบนิ่ม (Soft Cadaver) เพื่อให้เพียงพอและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หรือฝึกอบรมผ่าตัดเสมือนจริงแก่แพทย์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภายภาคหน้าต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (ปี5-ปี6) แพทย์ประจำบ้าน และ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดได้ฝึกทำหัตถการทางการแพทย์ ก่อนนำไปรักษาคนไข้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภาควิชาศัลย์ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ:
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
สถานที่จัดกิจกรรม:
ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ AN1-301
กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:
นักศึกษาแพทย์ แพทย์ อาจารย์แพทย์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:
ประมาณ 100 คน
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม
แพทย์สามารถทำหัตถการและการผ่าตัดใน Soft Cadaver เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้
ตัวชี้วัด:
แบบประเมินการใช้ห้องปฏิบัติการ
วันที่จัดกิจกรรม:
26 – 31 ตุลาคม 2562
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ:
ภายในประเทศ
ที่ปรึกษา การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์: รศ.ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
ผู้ให้ข้อมูล: น.ส.สิรินาถ ตันกร๊วด
เขียนข่าว: น.ส.วราภรณ์ เมือบศรี
Webmaster: ว่าที่ ร.อ.นเรศ จันทรังสิกุล
Tags: 2019, CARE Lab, SDGs 3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING, SDGs 4. QUALITY EDUCATION, ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาศัลย์ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล