SDGs 2022
-
Reinterpreting Popular Demonstrations for Use in a Laboratory Safety Session That Engages Students in Observation, Prediction, Record Keeping, and Problem Solving
Highlight: งานวิจัยฉบับนี้อธิบายการสาธิต (demonstration) จำนวนทั้งสิ้น 11 เรื่องในแลปปฏิบัติการเคมีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการตั้งคำถาม การสืบเหาะหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืน ที่มาและความสำคัญ การเรียนรู้ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เพิ่งเข้าห้องปฏิบัติการเป็นครั้งแรก โดยทั่วไปการสอนปฏิบัติการเคมีในครั้งแรกมักมีการใช้เพียงแค่การดูวีดีโอและการสาธิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและนำไปสู่การเรียนรู้ของนักศึกษาที่ไม่มากนัก ในงานวิจัยฉบับนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักศึกษาผู้วิจัยได้นำการสาธิตจำนวนทั้งสิ้น 11 เรื่องมาเป็น narrative เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดจากการตั้งคำถาม (inquiry-based learning) และการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง (student-initiated learning) นอกจากนี้ การสาธิตทั้ง 11 เรื่องนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ […]
-
Gross and radiographic appearance of porotic hyperostosis and cribra orbitalia in thalassemia affected skulls
Highlight: งานวิจัยฉบับนี้รายงานการเกิดขึ้นของ porotic hyperostosis และ criba orbitalia ในกะโหลกของผู้บริจาคร่างกายสองรายที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย ที่มาและความสำคัญ Porotic hyperostosis คือภาวะที่ฝากะโหลกเกิดการหนาตัวขึ้นแต่ขณะเดียวกันเกิดการพรุนและมีลักษณะเหมือนปะการัง และเมื่อดูจากภาพ X-ray จะมีลักษณะเหมือนเข็มจำนวนมากทิ่มอยู่บนกะโหลกศีรษะ (hair-on-end) ภาวะนี้พบได้ในร้อยละ 0.08 ของประชากร หากภาวะนี้เกิดขึ้นตรงบริเวณเพดานของ orbit จะเรียกว่า criba orbitalia ทั้งสองสภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียและประชากรในยุคดึกดำบรรพ์ที่มักขาดสารอาหาร งานวิจัยฉบับนี้รายงานการเกิดขึ้นของ porotic hyperostosis และ criba […]
-
Classification and morphometric features of pterion in Thai population with potential sex prediction
Highlight: ซึ่งผลของการใช้ Random Forest algorithm สามารถทำทายเพศได้โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 80.7% จากผลการทดลองเหล่านี้ ผู้วิจัยสรุปได้ว่านอกเหนือจากประโยชน์ของการระบุตำแหน่งของทัดดอกไม้ในทางคลินิกแล้ว การวัดระยะทางต่าง ๆ ของทัดดอกไม้ไปยัง landmark ที่สำคัญอื่น ๆ บนใบหน้า อาจมีการนำไปใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อระบุอัตลักษณ์บุคคลได้ ที่มาและความสำคัญ Pterion หรือทัดดอกไม้ คือส่วนทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างกระดูก frontal, parietal, sphenoid และ temporal บริเวณนี้เป็นบริเวณที่บางและแตกหักได้ง่ายที่สุดของกะโหลก ในทางคลินิกการค้นหาตำแหน่งของทัดดอกไม้ในผู้ป่วยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อแพทย์ต้องทำ craniotomy ตรงบริเวณทัดดอกไม้ […]