SDGs 3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING
-
Adding MYC/BCL2 double expression to NCCN-IPI may not improve prognostic value to an acceptable level
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 ในสูตร NCCN-IPI อาจไม่เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์โรคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ Highlight การเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 ในสูตร NCCN-IPI อาจไม่เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์โรคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ที่มาและความสำคัญ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด DLBCL ที่มีการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 จะมีความรุนแรงมากและมีอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยน้อย คณะวิจัยจึงได้นำข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยโรคนี้จำนวน 111 คน วิเคราะห์ทางสถิติและพบว่าการเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ […]
-
Neuroinflammation-induced neurodegeneration and associated microglia activation in Parkinson’s disease: anovel neurotherapeutic avenue
Highlight การลดการทำงานของ M1 และส่งเสริมการทำงานของ M2 เป็นแนวทางใหม่ที่ท้าทายและมีแนวโน้มในการรักษาโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันมีกลยุทธ์ใหม่ๆในการบรรเทาการอักเสบที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่นการใช้อนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาบริเวณการอักเสบที่แม่นยำ และการบรรเทาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคทางระบบประสาทประเภทหนึ่ง ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเป็นอาการทางคลินิกที่พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การอักเสบของระบบประสาทเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันที่เกี่ยวของกับไมโครเกลีย ไมโครเกลียคือเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการอักเสบของระบบประสาท ในบทความฉบับนี้ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการอักเสบของระบบประสาทที่กระตุ้นด้วยไมโครเกลียและความสัมพันธ์ของการอักเสบในระบบประสาทกับโรคพาร์กินสัน พร้อมทั้งวิธีการรักษาในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะปกติไมโครเกลียชนิด M0 จะทำหน้าที่เฝ้าระวังในสมองและตรวจสอบการบุกรุกที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งยังควบคุมการผลิตเซลล์ประสาท สร้างไซแนปส์ใหม่ และหลั่งโมเลกุลควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อปกป้องเซลล์ประสาท ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยา M0 จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบฟีโนไทป์ที่ทำงานโดยแบ่งออกเป็นไมโครเกลียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (M1) และไมโครเกลียที่ต้านการอักเสบ (M2) M1 และ […]
-
Expression of VEGF165 and VEGF165b during ovarian follicular development
Highlight การแสดงออกของ VEGF165 และ VEGFR เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนในระหว่างการพัฒนาของฟอลลิเคิลของวัวและในลักษณะเป็นการหลั่งจากเซลล์ตัวเองไปกระตุ้นเซลล์ตัวเอง (autocrine) หรือการได้รับการกระตุ้นจากเซลล์ข้างเคียง (paracrine) ที่มาและความสำคัญ ฟอลลิเคิล (follicle) ในรังไข่เป็นโครงสร้างสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการสุกของเซลล์ไข่ ในระหว่างการพัฒนาฟอลลิเคิลของรังไข่ การสร้างเส้นเลือดใหม่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มปริมาณเลือดไปยังฟอลลิเคิลของรังไข่ Vascular epithelial growth factor หรือ VEGF หรือที่เรียกอีกอย่างว่า VEGFA เป็นตัวควบคุมหลักของการสร้างเส้นเลือดใหม่ในรังไข่ VEGFA ประกอบด้วยไอโซฟอร์มหลายชนิด ไอโซฟอร์มที่สำคัญคือ VEGF165 ช่วยทำให้มีกระกระตุ้นให้มีอัตราการเกิด antral […]
-
Alleviative and Anti-Inflammatory effects of tuna blood hydrolysates on MPP+ and TNF-α – induced Parkinson-Like disease model through the regulation of Keap1-Nrf2 antioxidant pathway and apoptosis
Highlight TBH alleviates MPP+ and TNF-α-induced cell death in differentiated SH-SY5Y cells. ที่มาและความสำคัญ พยาธิสรีรวิทยาของโรคพาร์กินสันเชื่อมโยงกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบในสมองจนกระทั่งทำให้เกิดการตายของเซลล์ประสาทชนิดโดปามิเนอร์จิคในสมองส่วน substantia nigra pars compacta (SNpc) การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันคือการใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาเลโวโดปา แต่ยาหลายๆชนิดนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ นอกจากนี้การใช้ยาในระยะยาวอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงได้ ดังนั้นการวิจัยในปัจจุบันจึงเน้นที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการหรือรักษาโรคพาร์กินสันหรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ เนื่องจากอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดผลข้างเคียงได้น้อย ในระยะหลังๆนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นรายงานว่า โปรตีนไฮโดรไลเสตจากปลามีสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบและลดตายของเซลล์หลายชนิด ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท […]
-
-
-
-
-
-