Sittipon Intarapat

 
  • A Bird’s-Eye View of Endangered Species Conservation: Avian Genomics and Stem Cell Approaches for Green Peafowl (Pavo muticus)

    Highlight ประมาณ 12% ของจำนวนประชากรสัตว์ปีกถูกคุกคามจนมีสถานะเข้าใกล้สูญพันธุ์ นกยูงไทยหรือนกยูงเขียวเป็นหนึ่งในสัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากจำนวนประชากรลดลงมากจากหลายปัจจัยเช่น พื้นที่อาศัยถูกทำลาย การปนเปื้อนทางพันธุกรรมจากนกยูงอินเดีย การล่าเพื่อเอาขนและเนื้อเป็นต้น การรายงานครั้งนี้กล่าวถึงชีววิทยาของนกยูงไทยในมุมมองของกายวิภาคและเอ็มบริโอโลยีเชิงเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีโอมิกส์ในสัตว์ปีกเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งข้อมูลทางพันธุกรรม และเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดโดยเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเหนี่ยวนำเพื่อประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์นกยูงไทยและสัตว์ปีกชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์ต่อไป ที่มาและความสำคัญ สัตว์ปีกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีจำนวนสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์และสูญพันธุ์ไปแล้วสูงเป็นลำดับที่สองของอาณาจักรสัตว์ เป็นที่น่าสังเกตว่าองค์กร IUCN จัดนกยูงไทยหรือนกยูงเขียวไว้ในรายชื่อบัญชีแดงของสิ่งมีชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ การรายงานครั้งนี้มุ่งเน้นถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์และการสืบพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถใช้ทำนายแนวโน้มของจำนวนประชากรนกยูงไทยในป่าและช่วยในการผสมพันธุ์นกยูงไทยนอกเขตพื้นที่อาศัย นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดดังกล่าวในรูปแบบของการเก็บลำดับสารพันธุกรรมไว้เป็นธนาคารชีวภาพ อีกทั้งการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมยังช่วยจำแนกนกยูงไทยแต่ละชนิดได้ถูกต้องเพื่อใช้เพิ่มจำนวนชนิดพันธุ์ การรายงานครั้งนี้ยังกล่าวถึงจีโนมิกส์สัตว์ปีกและการใช้เทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเป็นความหวังในการอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เช่นนกยูงไทย และชนิดอื่นที่ถูกคุกคามจนมีสถานะที่เข้าค่ายใกล้สูญพันธุ์ Abstract Aves ranks among the top two […]

     
  •  
  • Avian Embryonic Culture: A Perspective of In Ovo to Ex Ovo and In Vitro Studies

    Highlight การศึกษาการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอภายนอกตัวแม่หรือนอกครรภ์มีข้อจำกัดหากศึกษาในเอ็มบริโอกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งสามารถทดแทนได้ด้วยการใช้เอ็มบริโอสัตว์ปีกเป็นตัวต้นแบบในการศึกษา การใช้เทคนิคทางชีววิทยาการเจริญ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอในเปลือกไข่ (in ovo)  และนอกเปลือกไข่ (ex ovo) นำมาใช้ศึกษาการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอสัตว์ปีกจนถึงระยะฟัก และสร้างเซลล์ต้นกำเนิดชนิดพลูริโพเทนท์ (pluripotent stem cells, PSCs) ที่คัดแยกได้จากเอ็มบริโอระยะต้นไปจนถึงระยะฟักจากเปลือกไข่เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ (in vitro) การผนวกองค์ความรู้จากการใช้เทคนิคดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดหนี่ยวนำ (induced pluripotent stem cells, iPSCs) ตลอดจนสร้างธนาคารเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell banking) […]

     
  •