Worawit Suphamungmee

 
  • Radiological Study of Atlas Arch Defects with Meta-Analysis and a Proposed New Classification

    Highlight ความผิดปกติของกระดูกสันหลังคอชิ้นบนสุดหรือ atlas ที่เรียกว่า atlas arch defect เป็นความผิดปกติที่พบได้ไม่มากนัก ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นเมื่อมีร่องบริเวณ anterior arch หรือ posterior arch ของกระดูก atlas หากเกิดขึ้นทั้งสองบริเวณจะเรียกว่า combined arch defect ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ศึกษาความชุกของ arch defect ในประชากร 606 ราย ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระแบบ วิเคราะห์อภิมานเพื่อศึกษาความชุกของ arch defect […]

     
  •  
  • ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ ศุภมั่งมี อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์

    เนื่องในโอกาสที่ ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF) ระดับที่ 2 การจัดการเรียนการสอนเฉพาะกลุ่ม ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล ครั้งที่ 14/2566 วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เครดิตภาพ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: ว่าที่ ร.อ.นเรศ จันทรังสิกุล

     
  •  
  • Functional Remodeling of the Contractile Smooth Muscle Cell Cortex, a Provocative Concept, Supported by Direct Visualization of Cortical Remodeling

    Functional Remodeling of the Contractile Smooth Muscle Cell Cortex, a Provocative Concept, Supported by Direct Visualization of Cortical Remodeling

    Highlight: การปรับสภาพของโครงสร้างเซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่บุผนังหลอดเลือด (vascular smooth muscle cell) แสดงลักษณะการแตกแขนงของกลุ่มเส้นใยแอคติน (cortical actin cytoskeleton) และกลุ่มโปรตีนที่เกาะ (focal adhesion proteins) ได้แก่ talin, zyxin, filamin A ในบริเวณชิดขอบเซลล์ในสภาวะปกติและเมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นการหดตัวด้วย phenylephrine ถูกศึกษาโดยใช้เทคนิคย้อมอิมมูโนภายในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบและเคลือบผิวเซลล์ด้วยแผ่นคาร์บอนบาง เพื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ที่มาและความสำคัญ เส้นใยแอคตินมีบทบาทสำคัญต่อการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ โดยทำงานร่วมกับเส้นใยไมโอซินในการเกิดครอสบริดจ์ นอกจากนี้เส้นใยแอคตินยังส่งแรงอันมีผลต่อการหดตัวของเซลล์ต่อไปยังสารเคลือบนอกเซลล์และไปยังเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงของการหดตัวจึงถูกควบคุมเริ่มต้นมาจากเส้นใยแอคตินที่อยู่บริเวณชิดขอบเซลล์ (cortical actin […]

     
  •  
  • Oocyte development and maturation in the sea cucumber, Holothuria scabra

    การพัฒนาของเซลล์ไข่จนถึงระยะสมบูรณ์ภายในรังไข่ของปลิงทะเลขาว ที่มาและความสำคัญ ปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) เพศเมียในระยะตัวเต็มวัย มีช่วงการพัฒนาของรังไข่แบบวงรอบจากขั้นต้นจนถึงขั้นการพัฒนาแบบสมบูรณ์เต็มที่ ในแต่ละช่วงของการพัฒนาของรังไข่จะประกอบด้วยเซลล์ไข่ตั้งแต่ระยะต้นจนถึงระยะปลาย (Oc1-Oc4) ที่มีการกระจายตัวในปริมาณที่แตกต่างกัน จากการศึกษาในระดับจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า เซลล์ Oc1 มีขนาดเล็ก นิวเคลียสกลมและเกาะติดกับชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผนังรังไข่ เซลล์ Oc2 รูปร่างกลม นิวเคลียสมีใยโครมาตินขนาดใหญ่กระจายไปตามขอบ ภายในไซโตปลาสซึมมีไมโตคอนเดรียเรียงตัวอยู่ด้านข้าง พบไรโบโซมและร่างแหเอ็นโดพลาสมิกอยู่หนาแน่นแสดงถึงกระบวนการสร้างโปรตีนมาก เซลล์ Oc3 มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก นิวเคลียสมีใยโครมาตินละเอียดคลี่กระจายอยู่ พบเม็ดแกรนูลหลายชนิดในไซโตปลาสซึมซึ่งสัมพันธ์กับการสร้าง yolk matrix, หยดไขมัน, ชั้นวุ้นคลุมด้านนอกเซลล์ […]

     
  •