Highlight

งานวิจัยนี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อศึกษาความชุกของโพรงกระดูก Stafne เพื่อนำมาวิเคราะห์อภิมาน จากจำนวนตัวอย่างรวม 355,890 ราย สรุปได้ว่าความชุกของโพรงกระดูก Stafne อยู่ที่ร้อยละ 0.17 และมีความชุกในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึงห้าเท่าและพบได้ในประชากรโบราณมากกว่าประชากรปัจจุบันถึงสามเท่า

ที่มาและความสำคัญ

โพรงกระดูก Stafne เป็นความบกพร่องที่ไม่แสดงอาการในพื้นผิวด้านในของกระดูกขากรรไกรล่าง ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตาม Edward C. Stafne ในปี 1942 โครงสร้างนี้นับเป็นความแปรผันทางกายวิภาค (anatomical variation) เนื่องจากมักไม่แสดงอาการ ความรู้และความตระหนักของโพรงกระดูก Stafne มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ใบหน้าขากรรไกร เพื่อป้องกันการวินิจฉัยที่ผิดพลาดเนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับรอยโรคอื่นในกระดูกขากรรไกรล่าง เมื่อมองจากภาพเอกซเรย์แบบ panoramic เช่น odontogenic cyst นอกจากนี้ ความชุกของโพรงกระดูก Stafne ที่สูงในประชากรโบราณแสดงให้เห็นว่าปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม อาจส่งผลต่อการอุบัติขึ้นของโพรงกระดูกนี้ โพรงกระดูก Stafne โดยปกติพบได้เพียงข้างเดียวและอาจมีรูปร่างแตกต่างกันไป ความชุกของความผิดปกติแตกต่างกันไปอย่างมากในการศึกษาก่อนหน้า ตั้งแต่ 0.10% ถึง 0.48% ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำการศึกษาก่อนหน้ามาวิเคราะห์อภิมานเพื่อคำนวณชุกที่แม่นยำและศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการมีอยู่ของโพรงกระดูก Stafne ต่อไป งานวิจัยนี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นคว้าการศึกษาก่อนหน้าทั้งหมดที่รายงานความชุกของโพรงกระดูก Stafne เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์อภิมานต่อไป การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบการศึกษาก่อนหน้าทั้งหมด 54 ฉบับ ที่รายงานความชุกของโพรงกระดูก Stafne ซึ่งประกอบด้วยจำนวนตัวอย่างรวม 355,890 ราย การวิเคราะห์อภิมาน แสดงให้เห็นว่าความชุกของโพรงกระดูก Stafne อยู่ที่ร้อยละ 0.17 และมีความชุกในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึงห้าเท่า นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์กลุ่มย่อย หรือ subgroup analysis พบว่า โพรงกระดูก Stafne พบได้บ่อยในประชากรโบราณ (ร้อยละ 0.47) มากกว่าประชากรในปัจจุบันถึงสามเท่า

Abstract

Background/purpose

A Stafne bone cavity (SBC) is an incidental depression in the lingual surface of the mandible. The aim of this study is to provide pooled estimates of the frequency of Stafne bone cavity and to correlate its presence with such variables as sex, laterality, diagnostic methods and population.

Materials and methods

Potential studies were searched through four electronic databases: Google Scholar, PubMed, Scopus, and Journal Storage. Titles, abstracts, and full texts of the articles were screened.

Results

A total of 54 studies relating to 355,890 subjects met the inclusion criteria for meta-analysis. A meta-analysis using the DerSimonian-Laird model revealed an overall prevalence of 0.17% (CI:0.14%–0.21%, I2 = 80.7%). SBC was four times more common in males than females (z = 6.94, P < 0.01), and was unilateral in almost all cases (z = 12.90, P < 0.01). Radiographic studies yielded a lower SBC prevalence at 0.12% (CI:0.09%–0.15%, I2 = 71.7%) than computed tomography studies, skeletal studies and excavation studies. Ancient populations had three times higher SBC prevalences (0.47%, CI:0.21%–0.73%, I2 = 89.5%) than the average populations today (z = 3.21, P < 0.01).

Conclusion

The prevalence of Stafne bone cavity is approximately 0.17%, and was four times more prevalent in males than females. This variant bone cavity was also present unilaterally in the majority of cases. Awareness of SBC is important for dentists, maxillofacial surgeons and other practitioners performing routine dental practices and interpreting panoramic radiographs.

KEYWORDS: Stafne bone cavity, Mandible, Anatomical variation, Systematic review, Meta-analysis

Citation: Chaweeborisuit, P., Yurasakpong, L., Kruepunga, N., Tubbs, R. S., Chaiyamoon, A., & Suwannakhan, A. (2023). The prevalence of Stafne bone cavity: A meta-analysis of 355,890 individuals. Journal of Dental Sciences. 18(2), 594-603. https://doi.org/10.1016/j.jds.2022.08.022

RELATED SDGs:

3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING

Goal 3: Good health and well-being

ผู้ให้ข้อมูล: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์
ชื่ออาจารย์ที่ทำวิจัย: อาจารย์ ดร.ลภัสรดา ยุรศักดิ์พงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐเมธี เครือภูงา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์
Credit ภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์

 

Tags: , , , ,