Post Tagged with: "machine learning"

 
  • Morphometric analysis of dry atlas vertebrae in a northeastern Thai population and possible correlation with sex

    Highlight งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาสัณฐานของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกหรือ atlas และศึกษาผลของเพศต่อขนาดและสัณฐานของกระดูกชิ้นนี้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ งานวิจัยฉบับนี้ใช้กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกจำนวนทั้งสิ้น 104 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยกระดูกจากผู้บริจาคร่างกายเพศชาย 54 ชิ้น และเพศหญิง 50 ชิ้น เพื่อวัดความยาวของ 12 พารามิเตอร์ (ระยะทาง a ถึง l) จากจุดสังเกตทางกายวิภาคจำนวน 23 จุด ผลการวิจัยพบว่า 8 จาก 12 พารามิเตอร์ มีความยาวที่มากกว่าในเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังนำความยาวของพารามิเตอร์เหล่านี้มาวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อจำแนกเพศ […]

     
  •  
  • Classification and Morphometric Features of Pterion in Thai Population with Potential Sex Prediction

    Classification and morphometric features of pterion in Thai population with potential sex prediction

    Highlight: ซึ่งผลของการใช้ Random Forest algorithm สามารถทำทายเพศได้โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 80.7% จากผลการทดลองเหล่านี้ ผู้วิจัยสรุปได้ว่านอกเหนือจากประโยชน์ของการระบุตำแหน่งของทัดดอกไม้ในทางคลินิกแล้ว การวัดระยะทางต่าง ๆ ของทัดดอกไม้ไปยัง landmark ที่สำคัญอื่น ๆ บนใบหน้า อาจมีการนำไปใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อระบุอัตลักษณ์บุคคลได้ ที่มาและความสำคัญ  Pterion หรือทัดดอกไม้ คือส่วนทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างกระดูก frontal, parietal, sphenoid และ temporal บริเวณนี้เป็นบริเวณที่บางและแตกหักได้ง่ายที่สุดของกะโหลก ในทางคลินิกการค้นหาตำแหน่งของทัดดอกไม้ในผู้ป่วยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อแพทย์ต้องทำ craniotomy ตรงบริเวณทัดดอกไม้ […]

     
  •  
  • The decreasing prevalence of the thyroid ima artery: A systematic review and machine learning assisted meta-analysis

    The decreasing prevalence of the thyroid ima artery: A systematic review and machine learning assisted meta-analysis

    ความชุกชุมที่ลดลงของหลอดเลือด thyroid ima: การวิเคราะห์อภิมานด้วยปัญญาประดิษฐ์ Highlight: ในงานวิจัยฉบับนี้เราพบว่าหลอดเลือดแดง thyroid ima มีความชุกชุมอยู่ที่ 3.8% และพบในตัวอ่อนมนุษย์มากกว่าในผู้ใหญ่ ถึง 4.5 เท่า (14.8% และ 3.3% ตามลำดับ) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่าโครงสร้างที่เป็น varition ที่พบในผู้ใหญ่อาจเป็นโครงสร้างที่พบได้เป็นปกติในตัวอ่อน หลอดเลือดนี้มักมีแขนงมาจากหลอดเลือดแดง brachiocephalic (74%) และแตกแขนงมาจากทางด้านขวาของหลอดลม (88%) ดังนั้นหากพบหลอดเลือดนี้การใส่ท่อช่วยหายใจควรใส่ค่อนไปทางด้านซ้ายของหลอดลม เพื่อป้องกันความเสียหายซี่งซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ นอกจากนี้เราพบว่าหลอดเลือดนี้กำลังสูญหายไปตามกาลเวลาซึ่งอาจเป็นปรากฏการณ์ทาง epigenetics […]

     
  •