Blog
-
Science Tools Show (Digital Imaging System and Automated Cell Counter) on Monday 10th June 2019 @AN1-205, AN1 building, 2nd floor, Phayathai campus (Free trial 10 – 14 June 2019).
Department of Anatomy, Faculty of Science, Mahidol University (Anatomy MUSC) would like to invite you to join Science Tools Show. In this event we prepare Digital Imaging System and Automated […]
-
Bioactive sulfated galactans from Gracilaria fisheri promote chondrogenic activity via integrin-β1/FAK/Akt signaling in human chondrocytes
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนโดยเพิ่มการแสดงออกของ Aggrecan, COL2A1 และยีน SOX9 ผ่านการกระตุ้นสัญญาณ integrin-β1/FAK/Akt ในเซลล์กระดูกอ่อนมนุษย์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการยึดเกาะและเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ ชี้ให้เห็นศักยภาพของซัลเฟตกาแลคแตนในการพัฒนาเป็นสารธรรมชาติสำหรับฟื้นฟูกระดูกอ่อนในโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มาและความสำคัญ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะเสื่อมเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในข้อต่อถูกทำลาย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิต แนวทางการรักษาในปัจจุบันมุ่งบรรเทาอาการแต่ไม่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่สูญเสียได้อย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นต้องค้นหาสารชีวภาพที่สามารถกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายไกลโคซามิโนไกลแคนในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนเพื่อประเมินศักยภาพในการส่งเสริมการสร้าง Aggrecan และ COL2A1 ในเซลล์กระดูกอ่อนมนุษย์ นำไปสู่การพัฒนาทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมในอนาคต Abstract […]
-
The occurrence of luteinizing hormone-like molecule and its receptor in the blue swimming crab, Portunus pelagicus
Highlight งานวิจัยนี้ค้นพบว่าในปูม้า (blue swimming crab) มีโมเลกุลที่คล้ายฮอร์โมน LH (luteinizing hormone) และตัวรับ (receptor) ของฮอร์โมนนี้ ซึ่งมักพบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจพบทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและรังไข่ของปูม้า โดยเฉพาะในรังไข่ที่เจริญเต็มที่ การค้นพบนี้ช่วยเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์ของปูม้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงปูม้าในฟาร์มโดยไม่ต้องตัดตาแม่ปู (eyestalk ablation) และช่วยแก้ปัญหาการลดจำนวนปูม้าในธรรมชาติในระยะยาว ที่มาและความสำคัญ ปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและเป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชนชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณปูม้าในธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้ได้ค้นพบโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน LH […]
-
Effect of Gracilaria fisheri sulfated galactan with increased sulfation on cell migration and expression of cell adhesion molecules in sodium oxalate‑induced HK‑2 cell injury
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนที่เพิ่มระดับการซัลเฟต (SGS) จากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri แสดงฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของเซลล์ไตที่เกิดจากโซเดียมออกซาเลต (NaOX) โดยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของเซลล์และการสมานแผล ฟื้นฟูการแสดงออกของโมเลกุลยึดเกาะระหว่างเซลล์ และควบคุมการส่งสัญญาณ PI3K/Akt และ MAPK แสดงถึงศักยภาพของ SGS ในการพัฒนาเป็นสารรักษาโรคนิ่วในไตจากธรรมชาติในอนาคต ที่มาและความสำคัญ โรคนิ่วในไตเกิดจากการสะสมของผลึกออกซาเลต ซึ่งทำลายเซลล์เยื่อบุท่อไต นำไปสู่การอักเสบ และสูญเสียความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ไต ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยในระยะยาว ปัจจุบันมีความสนใจในการค้นคว้าวิจัยสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดนิ่วและช่วยฟื้นฟูเซลล์การศึกษาครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเลือกใหม่ในการป้องกันและบำบัดโรคนิ่วในไตโดยใช้สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง ซัลเฟตกาแลคแตน (sulfated galactan) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่สกัดจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri […]
-
-
-
-
-
-
-