Kanokpan Wongprasert
-
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแด่อาจารย์ที่ได้รับการจัดอันดับ Mahidol University’s Top 100 Researcher ประจำปี 2026
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.กนกพรรณ วงศ์ประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพงศ์ เครื่องคำ และ รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้มีผลงานตามเกณฑ์ Mahidol University’s Top 100 Researcher ประจำปี 2026 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568) […]
-
Bioactive sulfated galactans from Gracilaria fisheri promote chondrogenic activity via integrin-β1/FAK/Akt signaling in human chondrocytes
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนโดยเพิ่มการแสดงออกของ Aggrecan, COL2A1 และยีน SOX9 ผ่านการกระตุ้นสัญญาณ integrin-β1/FAK/Akt ในเซลล์กระดูกอ่อนมนุษย์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการยึดเกาะและเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ ชี้ให้เห็นศักยภาพของซัลเฟตกาแลคแตนในการพัฒนาเป็นสารธรรมชาติสำหรับฟื้นฟูกระดูกอ่อนในโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มาและความสำคัญ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะเสื่อมเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในข้อต่อถูกทำลาย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิต แนวทางการรักษาในปัจจุบันมุ่งบรรเทาอาการแต่ไม่สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่สูญเสียได้อย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นต้องค้นหาสารชีวภาพที่สามารถกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายไกลโคซามิโนไกลแคนในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนเพื่อประเมินศักยภาพในการส่งเสริมการสร้าง Aggrecan และ COL2A1 ในเซลล์กระดูกอ่อนมนุษย์ นำไปสู่การพัฒนาทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมในอนาคต Abstract […]
-
Effect of Gracilaria fisheri sulfated galactan with increased sulfation on cell migration and expression of cell adhesion molecules in sodium oxalate‑induced HK‑2 cell injury
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนที่เพิ่มระดับการซัลเฟต (SGS) จากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri แสดงฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของเซลล์ไตที่เกิดจากโซเดียมออกซาเลต (NaOX) โดยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของเซลล์และการสมานแผล ฟื้นฟูการแสดงออกของโมเลกุลยึดเกาะระหว่างเซลล์ และควบคุมการส่งสัญญาณ PI3K/Akt และ MAPK แสดงถึงศักยภาพของ SGS ในการพัฒนาเป็นสารรักษาโรคนิ่วในไตจากธรรมชาติในอนาคต ที่มาและความสำคัญ โรคนิ่วในไตเกิดจากการสะสมของผลึกออกซาเลต ซึ่งทำลายเซลล์เยื่อบุท่อไต นำไปสู่การอักเสบ และสูญเสียความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ไต ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยในระยะยาว ปัจจุบันมีความสนใจในการค้นคว้าวิจัยสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดนิ่วและช่วยฟื้นฟูเซลล์การศึกษาครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเลือกใหม่ในการป้องกันและบำบัดโรคนิ่วในไตโดยใช้สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง ซัลเฟตกาแลคแตน (sulfated galactan) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่สกัดจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri […]
-
Sulfated galactan derivatives from Gracilaria fisheri suppress the proliferation of MCF‑7 breast cancer cells by inducing cell cycle arrest
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่าย Gracilaria fisheri และอนุพันธ์ที่ผ่านการปรับโครงสร้าง (LSG และ LSGO) แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 โดย LSGO มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการชะลอวัฏจักรเซลล์ในระยะ G2/M และลดการแสดงออกของโปรตีนควบคุมการแบ่งเซลล์ เช่น Ki-67, Cyclins และ CDKs ผลลัพธ์ชี้ถึงศักยภาพของ LSGO ในการพัฒนาเป็นสารต้านมะเร็งจากธรรมชาติ ที่มาและความสำคัญ มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีทั่วโลก และยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าจะมีแนวทางการรักษาหลายรูปแบบ แต่การดื้อยาและผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดยังเป็นข้อจำกัดสำคัญ งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าซัลเฟตกาแลคแตน (SG) […]
-
-
-
-
-
-