หลักสูตรกายวิภาคศาสตร์ และชีววิทยาโครงสร้าง ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนานักศึกษาบัณฑิตระดับปริญญาโทและเอก จึงได้จัด Annual Student Symposium เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการทำวิจัยของนักศึกษาและการให้คำชี้แนะของอาจารย์ที่เข้าร่วม โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 7-8 ก.พ. 2567 ณ ห้อง AN1-202 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ไกร มีมล ประธานหลักสูตรปริญญาเอกกายวิภาคศาสตร์ และชีววิทยาโครงสร้าง ทำหน้าที่เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

โดยในปีนี้มีงานวิจัยที่นักศึกษามานำเสนอหลากหลายแขนง มีหัวข้อดังนี้

1. Development for early detection method and investigation of pathogenic Spiroplasma eriocheiris โดย Mrs. Natechanok Intanai

2. Effect of tuna blood hydrolysate on anti-muscular fatigue and muscle mass restoration using in vitro and in vivo models โดย Ms. Daraphan Rodthayoy

3. Neurotherapeutic effect of Holothuria leucospilota extracts and their bioactive compounds against Alzheimer’s disease in transgenic Caenorhabditis elegans โดย Ms. Salinthip Thongdechsri

4. A strategic approach to fight against sars-cov-2 virus by modified chimeric MrNV-VLP โดย Mr. Supawich Boonkua          

5. Investigation of differential expression and roles of neuropeptide F on feeding, growth, and reproduction in the female giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii โดย Ms. Warintip Vetkama

6. Investigation of the presence and roles of neurotransmitters in the feeding and growth of the freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii โดย Ms. Thiraphon Deethaisong

7. Anti-obesity and anti-aging potentials of the extracts from marine algae, Caulerpa lentillifera, and Halymenia durvillei โดย Ms. Kawita Chumphoochai

8. Application of Dermatopontin from Thai abalone (Haliotis diversicolor) promote osteoinduction โดย Ms. Purimpuch Soongnart

9. Identification of a new emerging bidnavirus pathogen in giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii and the development of the specific diagnostic tools โดย Mr. Warachin Gangnonngiw

10. The Potential Development of scFv derived CDR3 Screened from Cholangiocarcinoma Patient as Anti-cancer Peptide โดย Ms. Chidchanok Chawiwithaya

11. The identification of glycans-based interaction between densoviruses (IHHNV and JcDNV) in Penaeus vannamei and SF9 insect cell โดย Ms. Chanyarak Sombutkayasith 12. Depletion of lipid droplets in hepatopancreatic cells during Enterocytozoon hepatopenaei infection and alteration of enzymes involved in lipolysis and eicosanoid pathway in Penaeus vannamei โดย Ms. Kamonluk Kittiwongpukde

โดยในการจัดกิจกรรมนี้ ได้มอบหมายให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาทำหน้าที่เป็น modulator เพื่อฝึกศักยภาพตาม soft skill ที่สามารถนำกลุ่มและสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างดี รวมถึงอาจารย์ในหลักสูตรฯได้ให้ความสนใจเข้าร่วมและได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย ปิดงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา วีรชาติยานุกูล รักษาการหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และรองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้น และถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาแต่ละคนที่ได้มานำเสนองานของตนเองเห็นงานของเพื่อนที่ทำงานวิจัยใน field อื่นๆ รวมทั้งได้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ นำไปปรับใช้ให้งานวิจัยสำเร็จได้

ที่ปรึกษา การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์: รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
เขียนข่าว: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต สร้อยระย้า
ภาพถ่าย: ว่าที่ ร.อ. นเรศ จันทรังสิกุล และ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา
เว็บมาสเตอร์: ว่าที่ ร.อ. นเรศ จันทรังสิกุล