Post Tagged with: "Caulerpa lentillifera"
-
Extracts of tropical green seaweed Caulerpa lentillifera reduce hepatic lipid accumulation by modulating lipid metabolism molecules in HepG2 cells
ฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นในการลดไขมันพอกตับผ่านกลไกลควบคุมการเผาผลาญไขมันในเซลล์ตับ Highlight สารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นมีศักยภาพในการควบคุมการสะสมไขมันและลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ HepG2 ที่ถูกกระตุ้นด้วยกรดไขมันโอเลอิก รวมถึงยังสามารถควบคุมการแสดงของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมัน กระตุ้นการแสดงของยีน SIRT1 และลดการแสดงออกของยีนที่ใช้ในการสะสมไขมัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารสกัดสาหร่ายพวงองุ่น มีสารประกอบสำคัญที่ช่วยลดการสะสมไขมันและไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับโดยการควบคุมโมเลกุลการเผาผลาญไขมันได้ ที่มาและความสำคัญ สาหร่ายทะเลมีฤทธิ์ที่หลากหลายที่สามารถป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงการบาดเจ็บของตับ และโรคไขมันพอกตับได้ การศึกษาวิจัยนี้จึงได้ศึกษาผลประโยชน์ทางสุขภาพของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่น Caulerpa lentillifera ในการลดการสะสมไขมันและการเผาผลาญไขมันในเซลล์ตับ Abstract Seaweed has attracted attention as a bioactive source for preventing […]
-
Anti-Obesity Effects of Marine Macroalgae Extract, Caulerpa lentillifera, in a Caenorhabditis elegans Model
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การออกฤทธิ์ต้านโรคอ้วนของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นในสัตว์ทดลองต้นแบบ Caenorhabditis elegans Highlight สารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นมีศักยภาพในการลดปริมาณไขมัน ระดับไตรกลีเซอไรด์ และก้อนไขมันสะสมในสัตว์ทดลองได้ รวมถึงยังสามารถลดความเครียดจากภาวะออกซิเดชั่น โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทางยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไขมัน (sbp-1) ดังนั้นการวิจัยนี้บ่งชี้ว่าสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นสามารถลดไขมันและต้านโรคอ้วนในสิ่งมีชีวิตต้นแบบได้ ที่มาและความสำคัญ โรคอ้วนเป็นภาวะที่มีการสะสมไขมันมากเกินจำเป็น และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ โดยสารสกัดจากธรรมชาติรวมถึงจากสาหร่ายทะเลมีฤทธิ์หลากหลาย จึงนำมาสู่งานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นในการลดไขมัน และต้านโรคอ้วน โดยศึกษาในสัตว์ทดลองต้นแบบ Caenorhabditis elegans Abstract Obesity is a multifactorial disease characterized by […]
-
Toxicity and Anti-Oxidation Capacity of The Extracts from Caulerpa lentillifera
การทดสอบความเป็นพิษและประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่น Highlight: สารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นด้วยเอทานอล (CLET) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีและมีความเป็นพิษต่ำ ขณะที่สารสกัดด้วยเฮกเซนและเอทิลอะซิเตท (CLHE และ CLEA) ควรใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ไม่เกิน 500 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เพื่อให้ได้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ที่มาและความสำคัญสาหร่ายพวงองุ่นได้มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ในการศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษและศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นใน 5 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งตามลักษณะการสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน ได้แก่ เอทานอล (CLET) เฮกเซน (CLHE) เอทิลอะซิเตท (CLEA) บิวทานอล (CLBU) […]