Monsicha Somrit
-
Development of chimeric MrNV virus-like particles capable of binding to SARS-CoV-2-susceptible cells and reducing infection by pseudovirus variants
Highlight โควิด-19 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ส่งผลกระทบหลักต่อปอด ทำให้เกิดโรคปอดบวมและทำความเสียหายต่อเนื้อเยื่อปอดได้ ไวรัสนี้เข้าสู่เซลล์โดยใช้โปรตีนหนาม (spike protein) ที่จับกับตัวรับ ACE2 ซึ่งพบได้บ่อยในเซลล์ของปอดและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย การศึกษานี้ได้สร้างอนุภาคคล้ายไวรัส (VLPs) หรือไวรัสที่มีเฉพาะโครงภายนอกไม่สามารถติดเชื้อได้ จากไวรัสของกุ้งก้ามกราม โดยออกแบบให้อนุภาคมีโปรตีนขนาดเล็กที่เรียกว่า ACE2tp ซึ่งสามารถจับกับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์ได้ โดยให้ชื่อว่า ACE2tp-MrNV-VLPs การเติมโปรตีน ACE2tp เข้าไปบนผิวของอนุภาคไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและรูปทรงปกติของอนุภาคคล้ายไวรัสเหล่านี้ แต่พบว่าโปรตีน ACE2tp […]
-
An accessory head of the extensor indicis: a rare case report
Highlight รายงานกรณีหายากของกล้ามเนื้อ extensor indicis (EI) ที่มีหัวกล้ามเนื้อเสริม (accessory head) ซึ่งเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกภาพถ่ายและโมเดล 3 มิติ ช่วยให้ความเข้าใจเชิงคลินิกและการรักษาความผิดปกติในบริเวณมือและแขนลึกซึ้งยิ่งขึ้น ที่มาและความสำคัญ กล้ามเนื้อ extensor indicis (EI) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญในส่วนปลายของแขนและหลังมือ ซึ่งมีบทบาทในกายวิภาคและการทำงานของนิ้วชี้ การศึกษารูปแบบการแปรผันของ EI มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติในบริเวณดังกล่าว การค้นพบกรณีของ EI ที่มีหัวกล้ามเนื้อเสริม (accessory head) เป็นเรื่องหายาก โดยรายงานนี้พบในศพสตรีอายุ 94 […]
-
Mannose glycoconjugates on the surface of A23187-activated sperm in the giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii are crucial for the binding process with the egg vitelline envelop
Highlight: เห็นถึงความสำคัญของน้ำตาล mannose บนผิวของอสุจิ ว่าสามารถใช้เป็นได้ทั้งตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของอสุจิเอง และยังบ่งบอกว่าน้ำตาลบนผิวของอสุจิมีความเกี่ยวข้องกับการจับและการเจาะไข่อีกด้วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำให้เราเข้าใจกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไข่กับเสปิร์มในสปีชีส์นี้ดีขึ้น และอาจสามารถใช้น้ำตาลบนผิวอสุจิเพื่อพัฒนาในการผสมเทียมในกุ้งก้ามกรามต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย ที่มาและความสำคัญ โครงสร้าง acrosome (ถุงเอนไซม์ในการเจาะไข่) ของตัวอสุจิ และการปล่อยเอนไซม์ออกมา สามารถระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ ในสัตว์ชนิดอื่นสามารถระบุโครงสร้างนี้ได้ง่าย แต่โครงสร้าง acrosome ในกุ้งก้ามกรามเป็นโครงสร้างที่ระบุยาก ทำให้ไม่สามารถที่จะระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ด้วยตาเปล่า และอสุจิแต่ละส่วนในถุงเก็บอสุจิและท่ออสุจิก็มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามอสุจิในท่อนำอสุจิส่วนปลายซึ่งปกติยังไม่สมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ แต่สามารถกระตุ้นให้พร้อมด้วย calcium ionophore A23187 เพราะเมื่อกระตุ้นแล้วพบว่ามีเอนไซม์ถูกปล่อยออกมาทำงาน และเพิ่มความสามารถในการจับและการเจาะไข่ อย่างไรก็ตามเอนไซม์เหล่านี้มีการทำงานในระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ไม่สามารถใช้การปลดปล่อยเอนไซม์ […]