SDGs 2. ZERO HUNGER
-
Role of lipid binding protein, Niemann pick type C-2, in enhancing shrimp sperm physiological function
Highlight งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรตีน MrNPC2 มีบทบาทในการลดคอเลสเตอรอลที่เยื่อหุ้มเซลล์อสุจิกุ้งก้ามกราม ส่งผลให้อสุจิมีความสามารถในการปฏิสนธิเพิ่มขึ้น โดยแสดงลักษณะทางชีวเคมีที่บ่งชี้ถึงความพร้อม เช่น การฟอสโฟรีเลตของไทโรซีนและการตอบสนองต่อการกระตุ้น acrosome reaction. ชื่องานวิจัย ภาษาไทย บทบาทของโปรตีนจับไขมัน Niemann-Pick ชนิดที่ C-2 ในการเสริมสมรรถภาพการทำงานของอสุจิกุ้ง ที่มาและความสำคัญ การปฏิสนธิของสัตว์นำ้เศรษฐกิจยังพบว่าอัตราการปฏิสนธิตามธรรมชาติยังมีอัตราการสูญเสียของไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ทีมวิจัยจึงศึกษากระบวนการปฏิสนธิในสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อเป็นพื้นฐานของการเหนี่ยวนำการปฏิสนธิ โดยศึกษาโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เซลล์อสุจิเกิด maturation เพื่อนำไปสู่ fertilization ที่สมบูรณ์ Abstract Sperm activation occurring in […]
-
Functional characterization of the recombinant L-type lectin from red alga Gracilaria fisheri with antibacterial potential
Highlight เลคตินชนิด L ที่ผลิตแบบรีคอมบิแนนต์จากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri แสดงฤทธิ์ในการรวมตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงและต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่ก่อโรคในสัตว์น้ำ เช่นแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio, Streptococcus และ Aeromonas ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเลคตินในการพัฒนาเป็นสารต้านเชื้อจากธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่มาและความสำคัญ เลคติน (Lectins) เป็นโปรตีนที่สามารถจับกับหมู่คาร์โบไฮเดรตบนผิวเซลล์ของจุลชีพได้อย่างจำเพาะ และมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ เช่น การกระตุ้นการรวมตัวของเชื้อ การจับและกำจัดเชื้อโรคผ่านกลไกของภูมิคุ้มกัน ตลอดจนการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพหลายชนิด เลคตินที่พบในสาหร่ายทะเล โดยเฉพาะสาหร่ายแดง มีความหลากหลายทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่ และมีรายงานถึงฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจหลายประการ อย่างไรก็ตาม เลคตินจาก Gracilaria […]
-
Antibiotic Susceptibility of Bacteria Isolated from Livestock-exposed and Unexposed Areas in Perlite-rich Soil in Thailand
Highlight งานวิจัยพบว่าแบคทีเรียดื้อยาในดินที่มีส่วนผสมของเพอร์ไลต์ไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเลี้ยงสัตว์ แต่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกายภาพและชุมชนจุลินทรีย์ในดิน โดย Bacillus spp. เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในพื้นที่ศึกษา ที่มาและความสำคัญ การใช้ยาปฏิชีวนะในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดื้อยาที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพสาธารณะ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาแบคทีเรียดื้อยาที่พบในดินที่มีส่วนผสมของเพอร์ไลต์ในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาพบว่า Bacillus spp. ซึ่งดื้อยาซีเฟพีม (cefepime) เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดทั้งในพื้นที่ที่ได้รับและไม่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังพบ Bacillus cereus ที่ดื้อต่อยาหลายชนิดในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบ การศึกษานี้เน้นให้เห็นว่าคุณสมบัติทางกายภาพและชุมชนจุลินทรีย์ในดินมีบทบาทสำคัญต่อการดื้อยาในดินมากกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เลี้ยง Abstract Antibiotic resistant bacteria are present in […]
-
One-tube, probe-based, quantitative PCR assay for bidnavirus MHBV in the river prawn Macrobrachium rosenbergii
Highlight งานวิจัยนี้พัฒนาเทคนิค qPCR แบบหลอดเดียวที่มีความแม่นยำและความไวสูง สำหรับตรวจหาไวรัส Macrobrachium hepatopancreatic bidnavirus (MHBV) ในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) อย่างรวดเร็วและแม่นยำ พบว่าไวรัสนี้มีอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2005 วิธีการนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามสุขภาพกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการระบาดของโรค และลดความสูญเสียในฟาร์ม ที่มาและความสำคัญ การตรวจพบไวรัสชนิดใหม่ Macrobrachium hepatopancreatic bidnavirus (MHBV) ในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ค้นพบในปี 2023 การระบาดของไวรัสนี้อาจส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรง […]
-
-
-
-
-
-