ชื่องานวิจัยภาษาไทย
CP-673451 ตัวยับยั้งไทโรซีนไคเนสของตัวรับเพลทเลทดีไลฟ์ โกรทแฟคเตอร์ ชักนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบอะพอพโทซิสในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับพยาธิใบไม้ตับโดยยับยั้ง Nrf2 และเพิ่ม ROS
Highlight
ยีน PDGF และ PDGFR มีการแสดงออกในเนื้อเยื่อ CCA มากกว่าเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ PDGFR-α มีการแสดงออกในระดับสูงในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี (CCA) ในขณะที่ PDGFR-β ส่วนใหญ่พบใน CAF สารยับยั้งที่จำเพาะต่อ PDGFR คือ CP-673451 ยับยั้งเส้นทาง PI3K/Akt/Nrf2 ในเซลล์ CCA ที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับ ส่งผลให้การแสดงออกของยีนต้านอนุมูลอิสระลดลง จากการควบคุมโดย Nrf2 ที่ลดลง นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของระดับอนุมูลอิสะในเซลล์ (ROS) ทำให้เซลล์ CCA ตายแบบอะพอพโทซิส งานวิจัยนี้บ่งชี้ว่า CP-673451 มีแนวโน้มเป็นยามุ่งเป้าสำหรับการรักษา CCA
ที่มาและความสำคัญ
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาบทบาทของ platelet-derived growth factors (PDGFs (PDGFs) และตัวรับ (PDGFRs) ในมะเร็งท่อน้ำดี (CCA) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการอยู่รอดของเซลล์ CCA โดยส่งเสริมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็งและไฟโบรบลาสต์ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง (CAF) ดังนั้น PDGFR จึงมีศักยภาพเป็นเป้าหมายในการรักษา CCA การทดลองทางคลินิกก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่จำกัด ในการใช้สารยับยั้ง PDGFR สำหรับการรักษา CCA การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการแสดงออกของ PDGF/PDGFR และกลไกของสารยับยั้ง PDGFR ใน CCA ที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับ เราค้นพบว่ายีน PDGF และ PDGFR มีการแสดงออกในเนื้อเยื่อ CCA มากกว่าเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ PDGFR-α มีการแสดงออกอย่างสูงในเซลล์ CCA ในขณะที่ PDGFR-β ส่วนใหญ่พบใน CAF เราทดสอบสารยับยั้งที่จำเพาะต่อ PDGFR คือ CP-673451 กับเซลล์ CCA ที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับ พบว่า CP-673451 ยับยั้งเส้นทาง PI3K/Akt/Nrf2 ส่งผลให้การแสดงออกของยีนต้านอนุมูลอิสระลดลง จากการควบคุมโดย Nrf2 ที่ลดลง นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของระดับอนุมูลอิสระในเซลล์ (ROS) ทำให้เซลล์ CCA ตายแบบอะพอพโทซิส งานวิจัยนี้บ่งชี้ว่า CP-673451 มีแนวโน้มเป็นยามุ่งเป้าสำหรับการรักษา CCA การค้นพบนี้สนับสนุนการตรวจสอบทางคลินิกของ CP-673451 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย CCA ที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับ
Abstract
Platelet-derived growth factors (PDGFs) and PDGF receptors (PDGFRs) play essential roles in promoting cholangiocarcinoma (CCA) cell survival by mediating paracrine crosstalk between tumor and cancer-associated fibroblasts (CAFs), indicating the potential of PDGFR as a target for CCA treatment. Clinical trials evaluating PDGFR inhibitors for CCA treatment have shown limited efficacy. Furthermore, little is known about the role of PDGF/PDGFR expression and the mechanism underlying PDGFR inhibitors in CCA related to Opisthorchis viverrini (OV). Therefore, we examined the effect of PDGFR inhibitors in OV-related CCA cells and investigated the molecular mechanism involved. We found that the PDGF and PDGFR mRNAs were overexpressed in CCA tissues compared to resection margins. Notably, PDGFR-α showed high expression in CCA cells, while PDGFR-β was predominantly expressed in CAFs. The selective inhibitor CP-673451 induced CCA cell death by suppressing the PI3K/Akt/Nrf2 pathway, leading to a decreased expression of Nrf2-targeted antioxidant genes. Consequently, this led to an increase in ROS levels and the promotion of CCA apoptosis. CP-673451 is a promising PDGFR-targeted drug for CCA and supports the further clinical investigation of CP-673451 for CCA treatment, particularly in the context of OV-related cases.
KEYWORDS: cholangiocarcinoma, Opisthorchis viverrini, CP-673451, PDGFR inhibitor, Nrf2
Citation: Duangdara J, Boonsri B, Sayinta A, Supradit K, Thintharua P, Kumkate S, Suriyonplengsaeng C, Larbcharoensub N, Mingphruedhi S, Rungsakulkij N, et al. CP-673451, a Selective Platelet-Derived Growth Factor Receptor Tyrosine Kinase Inhibitor, Induces Apoptosis in Opisthorchis viverrini-Associated Cholangiocarcinoma via Nrf2 Suppression and Enhanced ROS. Pharmaceuticals. 2024; 17(1):9. https://doi.org/10.3390/ph17010009
RELATED SDGs:
SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง
3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
17. Partnerships for the goals
ผู้ให้ข้อมูล: ศาสตราจารย์ ดร.กนกพรรณ วงศ์ประเสริฐ
ชื่ออาจารย์ที่ทำวิจัย: ศาสตราจารย์ ดร.กนกพรรณ วงศ์ประเสริฐ
ชื่อนักศึกษาที่ทำวิจัย: Jinchutha Duangdara
แหล่งทุนวิจัย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ภาพถ่าย: ศาสตราจารย์ ดร.กนกพรรณ วงศ์ประเสริฐ
Tags: Cholangiocarcinoma, CP-673451, Nrf2, Opisthorchis viverrini, PDGFR inhibitor