Posts by Anatomy SC Mahidol
-
The occurrence of luteinizing hormone-like molecule and its receptor in the blue swimming crab, Portunus pelagicus
Highlight งานวิจัยนี้ค้นพบว่าในปูม้า (blue swimming crab) มีโมเลกุลที่คล้ายฮอร์โมน LH (luteinizing hormone) และตัวรับ (receptor) ของฮอร์โมนนี้ ซึ่งมักพบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจพบทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและรังไข่ของปูม้า โดยเฉพาะในรังไข่ที่เจริญเต็มที่ การค้นพบนี้ช่วยเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการสืบพันธุ์ของปูม้า ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาวิธีเพาะเลี้ยงปูม้าในฟาร์มโดยไม่ต้องตัดตาแม่ปู (eyestalk ablation) และช่วยแก้ปัญหาการลดจำนวนปูม้าในธรรมชาติในระยะยาว ที่มาและความสำคัญ ปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและเป็นแหล่งรายได้หลักของชุมชนชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณปูม้าในธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้ได้ค้นพบโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน LH […]
-
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการฌาปนกิจร่างอาจารย์ใหญ่ (Thiel cadaver) ครั้งที่ 6/2568
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการฌาปนกิจร่างอาจารย์ใหญ่นางสาวนฤมล กิตติวชิราฤทธิ โดยมีญาติอาจารย์ใหญ่และเจ้าหน้าที่ของภาควิชาฯเข้าร่วมพิธี ณ วัดสุคันธาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ เวลา 10.00 น. การอุทิศร่างกายของอาจารย์ใหญ่ในครั้งนี้ ภาควิชาได้นำร่างอาจารย์ใหญ่ศึกษาเพื่อทางการแพทย์และเพื่องานวิจัยในการรักษาสภาพร่างที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ภาควิชาฯ จะนำเถ้ากระดูก เล็บและเส้นผมของอาจารย์ใหญ่เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพฯ ต่อไป ขอบุญกุศลที่ท่านอาจารย์ใหญ่ได้อุทิศไว้ เป็นผลบุญนำดวงวิญญาณของท่านอาจารย์ใหญ่สู่สุขคติในสัมปรายภพ ที่ปรึกษา การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์: รศ.ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนาเขียนข่าว: คุณวิมลสิริ […]
-
Effect of Gracilaria fisheri sulfated galactan with increased sulfation on cell migration and expression of cell adhesion molecules in sodium oxalate‑induced HK‑2 cell injury
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนที่เพิ่มระดับการซัลเฟต (SGS) จากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri แสดงฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของเซลล์ไตที่เกิดจากโซเดียมออกซาเลต (NaOX) โดยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของเซลล์และการสมานแผล ฟื้นฟูการแสดงออกของโมเลกุลยึดเกาะระหว่างเซลล์ และควบคุมการส่งสัญญาณ PI3K/Akt และ MAPK แสดงถึงศักยภาพของ SGS ในการพัฒนาเป็นสารรักษาโรคนิ่วในไตจากธรรมชาติในอนาคต ที่มาและความสำคัญ โรคนิ่วในไตเกิดจากการสะสมของผลึกออกซาเลต ซึ่งทำลายเซลล์เยื่อบุท่อไต นำไปสู่การอักเสบ และสูญเสียความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ไต ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยในระยะยาว ปัจจุบันมีความสนใจในการค้นคว้าวิจัยสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดนิ่วและช่วยฟื้นฟูเซลล์การศึกษาครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเลือกใหม่ในการป้องกันและบำบัดโรคนิ่วในไตโดยใช้สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูง ซัลเฟตกาแลคแตน (sulfated galactan) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่สกัดจากสาหร่ายแดง Gracilaria fisheri […]
-
Sulfated galactan derivatives from Gracilaria fisheri suppress the proliferation of MCF‑7 breast cancer cells by inducing cell cycle arrest
Highlight ซัลเฟตกาแลคแตนจากสาหร่าย Gracilaria fisheri และอนุพันธ์ที่ผ่านการปรับโครงสร้าง (LSG และ LSGO) แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 โดย LSGO มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านการชะลอวัฏจักรเซลล์ในระยะ G2/M และลดการแสดงออกของโปรตีนควบคุมการแบ่งเซลล์ เช่น Ki-67, Cyclins และ CDKs ผลลัพธ์ชี้ถึงศักยภาพของ LSGO ในการพัฒนาเป็นสารต้านมะเร็งจากธรรมชาติ ที่มาและความสำคัญ มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีทั่วโลก และยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าจะมีแนวทางการรักษาหลายรูปแบบ แต่การดื้อยาและผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดยังเป็นข้อจำกัดสำคัญ งานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นว่าซัลเฟตกาแลคแตน (SG) […]
-
-
-
-
-
-