SDGs 14. LIFE BELOW WATER
-
Toxicity and Anti-Oxidation Capacity of The Extracts from Caulerpa lentillifera
การทดสอบความเป็นพิษและประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่น Highlight: สารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นด้วยเอทานอล (CLET) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีและมีความเป็นพิษต่ำ ขณะที่สารสกัดด้วยเฮกเซนและเอทิลอะซิเตท (CLHE และ CLEA) ควรใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ไม่เกิน 500 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เพื่อให้ได้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ที่มาและความสำคัญสาหร่ายพวงองุ่นได้มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ในการศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษและศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นใน 5 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งตามลักษณะการสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน ได้แก่ เอทานอล (CLET) เฮกเซน (CLHE) เอทิลอะซิเตท (CLEA) บิวทานอล (CLBU) […]
-
Oocyte development and maturation in the sea cucumber, Holothuria scabra
การพัฒนาของเซลล์ไข่จนถึงระยะสมบูรณ์ภายในรังไข่ของปลิงทะเลขาว ที่มาและความสำคัญ ปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) เพศเมียในระยะตัวเต็มวัย มีช่วงการพัฒนาของรังไข่แบบวงรอบจากขั้นต้นจนถึงขั้นการพัฒนาแบบสมบูรณ์เต็มที่ ในแต่ละช่วงของการพัฒนาของรังไข่จะประกอบด้วยเซลล์ไข่ตั้งแต่ระยะต้นจนถึงระยะปลาย (Oc1-Oc4) ที่มีการกระจายตัวในปริมาณที่แตกต่างกัน จากการศึกษาในระดับจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า เซลล์ Oc1 มีขนาดเล็ก นิวเคลียสกลมและเกาะติดกับชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผนังรังไข่ เซลล์ Oc2 รูปร่างกลม นิวเคลียสมีใยโครมาตินขนาดใหญ่กระจายไปตามขอบ ภายในไซโตปลาสซึมมีไมโตคอนเดรียเรียงตัวอยู่ด้านข้าง พบไรโบโซมและร่างแหเอ็นโดพลาสมิกอยู่หนาแน่นแสดงถึงกระบวนการสร้างโปรตีนมาก เซลล์ Oc3 มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก นิวเคลียสมีใยโครมาตินละเอียดคลี่กระจายอยู่ พบเม็ดแกรนูลหลายชนิดในไซโตปลาสซึมซึ่งสัมพันธ์กับการสร้าง yolk matrix, หยดไขมัน, ชั้นวุ้นคลุมด้านนอกเซลล์ […]
-
Existence and distribution of Niemann Pick type 2C (NPC2) in prawn reproductive tract and its putative role as cholesterol modulator during sperm transit in vas deferens
การปรากฎและการกระจายของโปรตีน Niemann-Pick type 2C (NPC2) ในทางเดินสืบพันธุ์ของกุ้ง และบาทบาทในการปรับเปลี่ยนคลอเรสเตอรอลบนผิวเซลล์อสุจิเมื่อมาถึงท่อนำอสุจิ ที่มาและความสำคัญ การนำออกของคอเลสเตอรอล (cholesterol) บนผิวเซลล์อสุจิเป็นเหตุการณ์ทางโมเลกุลที่สำคัญในการทำให้อสุจิมีความสามารถในการปฏิสนธิในสัตว์หลากหลายชนิดรวมถึงในมนุษย์ เราได้เคยทำการศึกษาปริมาณของคอเลสเตอรอลบนผิวเซลล์อสุจิของกุ้งกรามโดยจะลดปริมาณลงเมื่อเซลล์อสุจิเดินทางมาถึงท่อนำอสุจิ ทำให้เกิดแนวคิดว่าเกี่ยวข้องกับโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการขนส่งคอเลสเตอรอลเข้าออก-บนผิวเซลล์อสุจิ โปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่งคือ Niemann-Pick type2C (NPC2) ที่พบในทางเดินสืบพันธุ์ของกุ้งก้ามกรามเพศผู้ การศึกษาลำดับของพันธุกรรมของ NPC2 ในกุ้งก้ามกราม (MrNPC2) เปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่นจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่ารหัสพันธุกรรมมีการอนุรักษ์ในทุกสายพันธุ์โดยประกอบไปด้วยช่องที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic cavity) ที่มีกรดอะมิโน 3 ตัวเป็นฝาปิด การปรากฎของรหัสพันธุกรรมและโปรตีนของ […]