Somluk Asuvapongpatana
-
Betulinic acid inhibits proliferation and triggers apoptosis in human breast cancer cells by modulating ER (α/β) and p53
Highlight กรดเบทูลินิก (Betulinic acid, BA) มีผลลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเซลล์ MCF-7 เกิดอะพอพโทซิสทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะท้าย ในขณะที่เซลล์ MDA-MB-231 เกิดทั้งอะพอพโทซิสและเนโครซิสภายใน 48 ชั่วโมง ระดับการแสดงออกของ ERα/ERβ และ wt-p53/mu-p53 เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการกระตุ้นกระบวนการอะพอพโทซิสและการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ผ่านเส้นทาง p53 ที่ถูกกระตุ้นจากการโต้ตอบระหว่าง BA และโมเลกุลเป้าหมาย ชื่องานวิจัย ภาษาไทย บิวทูลินิก แอซิด ยับยั้งการแบ่งตัวและกระตุ้นกระบวนการอะพอพโทซิส ผ่านการควบคุมของ […]
-
Complete transverse basilar cleft associated with hemifacial microsomia
Highlight รายงานนี้เป็นกรณีแรกที่พบ transverse basilar cleft (TBC) ในผู้ป่วย hemifacial microsomia (HFM) โดยพบความผิดปกติที่กระดูก clivus ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับกลไกทางพันธุกรรม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจความผิดปกติทางกายวิภาคในผู้ป่วย HFM เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำ ที่มาและความสำคัญ Hemifacial microsomia (HFM) เป็นภาวะความผิดปกติทางโครงสร้างของใบหน้าครึ่งซีกที่พบได้บ่อยรองจากปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีความหลากหลายในลักษณะของความผิดปกติ เช่น ความสั้นของกระดูกขากรรไกรล่างและการเคลื่อนตำแหน่งของข้อต่อขากรรไกรล่าง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณใบหน้า ในกรณีศึกษานี้พบว่าผู้ป่วย HFM มีความผิดปกติของกระดูก clivus โดยเกิด […]
-
Effect of caffeine on genes expressions of developing retinas in the chick model
Highlight มีรายงานว่าการดื่มคาเฟอีนปริมาณมากในช่วงการตั้งครรภ์มีผลต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อประสาทระหว่างการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ในการศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ผลของคาเฟอีนที่มีต่อการพัฒนาของชั้นเรตินา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อประสาทที่อ่อนไหวที่สุดในตัวอ่อนไก่ การติดตามการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทั้งความหนาและการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อประสาท โดยใช้การบ่งบอกของยีน 3 ตัว ได้แก่ Atoh7, FoxN4 และ Lim1 เมื่อให้คาเฟอีนที่ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ เป็นโดสตั้งต้นและให้เพียงโดสเดียวที่ระยะตัวอ่อน E1เมื่อติดตามความหนาของชั้นเรตินาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่ตัวอ่อนระยะ E7และ E9 และยีนที่มีการแสดงออกเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ Atoh7 ในขณะที่ FoxN4 และ Lim1 มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในการพัฒนาชั้นเรตินา เมื่อใช้การตรวจวัดปริมาณของยีนด้วยเทคนิค Quantitative polymerase chain reaction […]
-
Shrimp thrombospondin (TSP): presence of O-β1,4 N-acetylglucosamine polymers and its function in TSP chain association in egg extracellular matrix
Highlight การวิเคราะห์การมีอยู่ของโพลีเมอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วย O-β(1,4)-GlcNAc polymers (β1,4GNP) ที่ยึดเหนี่ยวบน O-linked glycosylation ของ thrombospondin (pmTSP-II) เราพบว่ามี β1,4GNP จำนวน 5 ตัวที่เชื่อมอยู่บนโดเมนคล้ายโกรทแฟคเตอร์เนื้อเยื่อบุของ pmTSP-II การใช้แอนติบอดี้ต่อ O-β-GlcNAc (CTD110.6) เพื่อพิสูจน์การเชื่อมต่อของ β1,4GNP แบบเป็นสายหรือโครงสร้างซับซ้อน พบว่าแอนตี้บอดี้ทำปฏิกิริยากับการเรียงตัวของน้ำตาล 3, 4 และ 5 ตัวที่นำไปต่อเชื่อมกับไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ (phosphatidylethanolamine) […]
-
-
-
-