Post Tagged with: "Parkinson’s Disease"
-
Neuroinflammation-induced neurodegeneration and associated microglia activation in Parkinson’s disease: anovel neurotherapeutic avenue
Highlight การลดการทำงานของ M1 และส่งเสริมการทำงานของ M2 เป็นแนวทางใหม่ที่ท้าทายและมีแนวโน้มในการรักษาโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันมีกลยุทธ์ใหม่ๆในการบรรเทาการอักเสบที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่นการใช้อนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาบริเวณการอักเสบที่แม่นยำ และการบรรเทาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคทางระบบประสาทประเภทหนึ่ง ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเป็นอาการทางคลินิกที่พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การอักเสบของระบบประสาทเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันที่เกี่ยวของกับไมโครเกลีย ไมโครเกลียคือเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการอักเสบของระบบประสาท ในบทความฉบับนี้ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการอักเสบของระบบประสาทที่กระตุ้นด้วยไมโครเกลียและความสัมพันธ์ของการอักเสบในระบบประสาทกับโรคพาร์กินสัน พร้อมทั้งวิธีการรักษาในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะปกติไมโครเกลียชนิด M0 จะทำหน้าที่เฝ้าระวังในสมองและตรวจสอบการบุกรุกที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งยังควบคุมการผลิตเซลล์ประสาท สร้างไซแนปส์ใหม่ และหลั่งโมเลกุลควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อปกป้องเซลล์ประสาท ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยา M0 จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบฟีโนไทป์ที่ทำงานโดยแบ่งออกเป็นไมโครเกลียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (M1) และไมโครเกลียที่ต้านการอักเสบ (M2) M1 และ […]
-
Alleviative and Anti-Inflammatory effects of tuna blood hydrolysates on MPP+ and TNF-α – induced Parkinson-Like disease model through the regulation of Keap1-Nrf2 antioxidant pathway and apoptosis
Highlight TBH alleviates MPP+ and TNF-α-induced cell death in differentiated SH-SY5Y cells. ที่มาและความสำคัญ พยาธิสรีรวิทยาของโรคพาร์กินสันเชื่อมโยงกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบในสมองจนกระทั่งทำให้เกิดการตายของเซลล์ประสาทชนิดโดปามิเนอร์จิคในสมองส่วน substantia nigra pars compacta (SNpc) การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันคือการใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาเลโวโดปา แต่ยาหลายๆชนิดนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ นอกจากนี้การใช้ยาในระยะยาวอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงได้ ดังนั้นการวิจัยในปัจจุบันจึงเน้นที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการหรือรักษาโรคพาร์กินสันหรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ เนื่องจากอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดผลข้างเคียงได้น้อย ในระยะหลังๆนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นรายงานว่า โปรตีนไฮโดรไลเสตจากปลามีสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบและลดตายของเซลล์หลายชนิด ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท […]
-
Neuroprotection of Andrographolide against Neurotoxin MPP+-Induced Apoptosis in SH-SY5Y Cells via Activating Mitophagy, Autophagy, and Antioxidant Activities
Highlight สาร Andro มีฤทธิ์หลากหลายทางเภสัชวิทยา แต่ในการศึกษานี้ได้ศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสายพันธุ์นิวโรบลาสโตมา SH-SY5Y ที่จำลองแบบโรคพาร์กินสันโดยใช้สารพิษต่อระบบประสาท MMP+ การป้องกันนี้ได้ผ่านกระบวนการ mitophagy, กำจัดโปรตีน alpha-synuclein ผ่านทาง autophagy และ เพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สาร Andro มีคุณสมบัติที่จะเป็นอีกทางเลือกนึงในการป้องกันโรคพาร์กินสัน ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสัน เกี่ยวข้องกับการสูญเสียเซลล์โดปามีนและการรวมกันของ alpha-synuclein ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างสารอนุมูลอิสระที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของไมโตคอนเดรียและกระบวนการออโตฟาจี (autophagy) ตามลำดับ ในปัจจุบันได้มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสาร Andrographolide หรือ Andro […]
-
Neuroprotective effects of a medium chain fatty acid, decanoic acid, isolated from H. leucospilota against Parkinsonism in C. elegans PD model
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ฤทธิ์ของสารสกัด decanoic acid จากปลิงทะเลดำในการป้องกันเซลล์ประสาทและต้านโรคพาร์กินสันในสัตว์ทดลอง C. elegans Highlight สารสกัด decanoic acid จากปลิงทะเลดำ สามารถลดความเสียหายของเซลล์ประสาท ลดอนุมูลอิสระ ฟื้นฟูการทำงานของเซลล์ประสาท อีกทั้งยังสามารถลดการเกาะกลุ่มของโปรตีนอัลฟ่าไซนิวคลิอิน โดยการกระตุ้นผ่านทาง DAF-16 transcription factor เพื่อกระตุ้นการแสดงออกของยีนต้านอนุมูลอิสระ (sod-3) และยีน heat shock proteins (hsp16.1, hsp16.2 และ hsp12.6) […]
-
-
-