SDGs
-
Oocyte development and maturation in the sea cucumber, Holothuria scabra
การพัฒนาของเซลล์ไข่จนถึงระยะสมบูรณ์ภายในรังไข่ของปลิงทะเลขาว ที่มาและความสำคัญ ปลิงทะเลขาว (Holothuria scabra) เพศเมียในระยะตัวเต็มวัย มีช่วงการพัฒนาของรังไข่แบบวงรอบจากขั้นต้นจนถึงขั้นการพัฒนาแบบสมบูรณ์เต็มที่ ในแต่ละช่วงของการพัฒนาของรังไข่จะประกอบด้วยเซลล์ไข่ตั้งแต่ระยะต้นจนถึงระยะปลาย (Oc1-Oc4) ที่มีการกระจายตัวในปริมาณที่แตกต่างกัน จากการศึกษาในระดับจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า เซลล์ Oc1 มีขนาดเล็ก นิวเคลียสกลมและเกาะติดกับชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผนังรังไข่ เซลล์ Oc2 รูปร่างกลม นิวเคลียสมีใยโครมาตินขนาดใหญ่กระจายไปตามขอบ ภายในไซโตปลาสซึมมีไมโตคอนเดรียเรียงตัวอยู่ด้านข้าง พบไรโบโซมและร่างแหเอ็นโดพลาสมิกอยู่หนาแน่นแสดงถึงกระบวนการสร้างโปรตีนมาก เซลล์ Oc3 มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก นิวเคลียสมีใยโครมาตินละเอียดคลี่กระจายอยู่ พบเม็ดแกรนูลหลายชนิดในไซโตปลาสซึมซึ่งสัมพันธ์กับการสร้าง yolk matrix, หยดไขมัน, ชั้นวุ้นคลุมด้านนอกเซลล์ […]
-
Potential of resveratrol in enrichment of neural progenitor-like cell induction of human stem cells from apical papilla
ที่มาและความสำคัญ การเหนี่ยวนำการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ประสาทของเซลล์ต้นกำเนิดปลายรากฟันมนุษย์โดยสารเรสเวอราทรอลได้ผลดีในการเพิ่มปริมาณเซลล์ประสาทของเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อจะใช้ประโยชน์เป็นเซลล์บำบัดในการรักษาโรคความผิดปกติระบบประสาทส่วนกลาง สารนี้ช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์ตั้งต้นเซลล์ประสาทสำหรับการปลูกถ่ายเซลล์ประสาท เพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคต่างที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น Sensorineural hearing loss (SNHL), Parkinson ‘s disease, Alzheimer’s disease Abstract IntroductionStem cell transplantation of exogenous neural progenitor cells (NPCs) derived from mesenchymal stem cells (MSCs) […]
-
Neuroprotective effect of metformin on dopaminergic neurodegeneration and α-synuclein aggregation in C. elegans model of Parkinson’s disease
ฤทธิ์ของ metformin ต่อการป้องกันการความเสื่อมของเซลล์ประสาทและการเกาะกลุ่มของโปรตีน α -synuclein ในโรคพาร์กินสัน ที่มาและความสำคัญโรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบมากเป็นอันดับสองที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและกระบวนการคิดวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพชีวิตในที่สุด จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าสาร metformin ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานมีฤทธิ์ในการป้องกันโรคความเสื่อมระบบประสาทได้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาการทำงานและออกฤทธิ์ของสาร metformin ต่อโรคพาร์กินสันโดยใช้หนอน C. elegans สัตว์ทดลองต้นแบบ โดยผลการศึกษาพบว่าสาร metformin ที่ความเข้มข้น 10 มิลลิโมลาร์ สามารถลดความเสียหายของเซลล์ประสาทและฟื้นฟูการทำงานของเซลล์ประสาทโดยการเพิ่มการทำงานของยีนที่ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาท dopamine ให้สูงขึ้นได้ รวมถึงยังสามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของโปรตีน […]
-
The quality and readability of English Wikipedia anatomy articles
คุณภาพของของบทความกายวิภาคศาสตร์ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่มาและความสำคัญ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก วิกิพีเดียจัดตั้งขึ้นในปี 2001 และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไรจากประเทศสหรัฐอเมริกา เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความเกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงวิกิพีเดียและร่วมแก้ไขได้อย่างเสรี การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าประชาชนทั่วไป รวมถึงแพทย์และนักศักษาแพทย์กว่าร้อยละ 90 ใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าวิกิพีเดียมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในด้านสาธารณสุขของโลกหรือ global health อย่างไรก็ตามวิกิพีเดียถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงวิชาการอยู่เสมอโดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ส่งผลให้วิกิพีเดียไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาโมเดลเพื่อประเมินคุณภาพของบทความในวิกิพีเดีย ทั้งในเชิงประมาณ (quantitative) เชิงคุณภาพ (qualitative) และระบุปัจจัยต่าง […]
-
-
-
-
-
-