SDGs 2. ZERO HUNGER

 
  • Infectious hypodermal and hematopoietic necrosis virus-like particle (IHHNV-VLP) induces peroxiredoxin expression and activity in Fenneropenaeus merguiensis

    Highlight อนุภาคเสมือนไวรัส (Virus-like particle, VLP) เป็นอนุภาคที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากไม่มีจีโนมไวรัส และประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยโปรตีนในรูปแบบซ้ำ ๆ ที่มีการเรียงตัวหนาแน่นจนกลายเป็นเปลือกหุ้มไวรัสที่มีคุณสมบัติดีเด่นในด้านกายภาพ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชนิดของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันหลังจากการฉีดอนุภาคเสมือนไวรัส IHHNV ด้วยกรรมวิธี next generation sequencing จากเนื้อเยื่อเหงือก (gill) ของกุ้งแชบ๊วย (F. merguiensis) ผลการทดลองพบว่า มียูนิยีน (Unigene) ที่เพิ่มมากขึ้นจำนวน 326 ตัวในกุ้งที่ฉีดด้วย IHHNV-VLP และยีนที่เด่นที่สุดในตระกูลแอนตี้อ๊อกซิเดชั่นคือยีน […]

     
  •  
  • Shrimp thrombospondin (TSP): presence of O-β1,4 N-acetylglucosamine polymers and its function in TSP chain association in egg extracellular matrix

    Highlight การวิเคราะห์การมีอยู่ของโพลีเมอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วย O-β(1,4)-GlcNAc polymers (β1,4GNP) ที่ยึดเหนี่ยวบน O-linked glycosylation ของ thrombospondin (pmTSP-II) เราพบว่ามี β1,4GNP จำนวน 5 ตัวที่เชื่อมอยู่บนโดเมนคล้ายโกรทแฟคเตอร์เนื้อเยื่อบุของ pmTSP-II การใช้แอนติบอดี้ต่อ O-β-GlcNAc (CTD110.6) เพื่อพิสูจน์การเชื่อมต่อของ β1,4GNP แบบเป็นสายหรือโครงสร้างซับซ้อน พบว่าแอนตี้บอดี้ทำปฏิกิริยากับการเรียงตัวของน้ำตาล 3, 4 และ 5 ตัวที่นำไปต่อเชื่อมกับไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ (phosphatidylethanolamine) […]

     
  •  
  • Dissecting the localization of Tilapia tilapinevirus in the brain of the experimentally infected Nile tilapia, Oreochromis niloticus (L.)

    Dissecting the localization of Tilapia tilapinevirus in the brain of the experimentally infected Nile tilapia, Oreochromis niloticus (L.)

    Highlight: งานวิจัยนี้บ่งชี้การติดเชื้อของ ทีลาปีนไวรัส ในสมองและไขสันหลังปลานิล โดยระบุการแพร่กระจายโดยเทคนิคการแสดงออกทางพันธุกรรม In situ hybridyzation และพบว่าสาเหตุการติดเชื้อน่าจะผ่านการทำลายระบบไหลเวียนเลือดเข้าสู่ระบบหมุนเวียนน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาท ชื่องานวิจัยภาษาไทย การตรวจหาตำแหน่งของไวรัสทิลาเปีย ทีลาปีนไวรัส ในสมองปลานิลที่ทดลองติดเชื้อ Abstract Tilapia tilapinevirus or tilapia lake virus (TiLV) is an emerging virus that inflicts significant mortality on […]

     
  •  
  • Mannose1

    Mannose glycoconjugates on the surface of A23187-activated sperm in the giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii are crucial for the binding process with the egg vitelline envelop

    Highlight: เห็นถึงความสำคัญของน้ำตาล mannose บนผิวของอสุจิ ว่าสามารถใช้เป็นได้ทั้งตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของอสุจิเอง และยังบ่งบอกว่าน้ำตาลบนผิวของอสุจิมีความเกี่ยวข้องกับการจับและการเจาะไข่อีกด้วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำให้เราเข้าใจกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไข่กับเสปิร์มในสปีชีส์นี้ดีขึ้น และอาจสามารถใช้น้ำตาลบนผิวอสุจิเพื่อพัฒนาในการผสมเทียมในกุ้งก้ามกรามต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย ที่มาและความสำคัญ โครงสร้าง acrosome (ถุงเอนไซม์ในการเจาะไข่) ของตัวอสุจิ และการปล่อยเอนไซม์ออกมา สามารถระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ ในสัตว์ชนิดอื่นสามารถระบุโครงสร้างนี้ได้ง่าย แต่โครงสร้าง acrosome ในกุ้งก้ามกรามเป็นโครงสร้างที่ระบุยาก ทำให้ไม่สามารถที่จะระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ด้วยตาเปล่า และอสุจิแต่ละส่วนในถุงเก็บอสุจิและท่ออสุจิก็มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามอสุจิในท่อนำอสุจิส่วนปลายซึ่งปกติยังไม่สมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ แต่สามารถกระตุ้นให้พร้อมด้วย calcium ionophore A23187 เพราะเมื่อกระตุ้นแล้วพบว่ามีเอนไซม์ถูกปล่อยออกมาทำงาน และเพิ่มความสามารถในการจับและการเจาะไข่ อย่างไรก็ตามเอนไซม์เหล่านี้มีการทำงานในระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ไม่สามารถใช้การปลดปล่อยเอนไซม์ […]

     
  •  
  • Macrobrachium rosenbergii nodavirus virus-like particles attach to fucosylated glycans in the gills of the giant freshwater prawn

     
  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ได้ดำเนินการฌาปนกิจร่างอาจารย์ใหญ่ (Soft cadaver) วันที่ 24 มีนาคม 2563