SDGs 8. DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH

 
  • Infectivity and virulence of the infectious Macrobrachium rosenbergii nodavirus produced from Drosophila melanogaster cell using Penaeus merguiensis as an infection model

    Highlight นักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองการแบ่งตัวและการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ในระบบเพาะเลี้ยงกับเซลล์แมลง ซึ่งมีข้อดีในการเพิ่มจำนวนไวรัสได้จำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้นำระบบเพาะเลี้ยงดังกล่าวมาใช้ในการผลิตและเพิ่มจำนวนไวรัส MrNV ในเซลล์แมลง S2 โดยการจำลองการติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ S2 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเก็บน้ำเพาะเลี้ยงเซลล์ที่มีอนุภาคไวรัส MrNV ที่ถูกปลดปล่อยออกมา แล้วนำเชื้อดังกล่าวมาทดสอบการติดเชื้อในเซลล์ S2 ใหม่อีกรอบ เพื่อทดสอบความสามารถของไวรัสในการติดเชื้อซ้ำ พบว่ามีการปรากฏของไวรัสใหม่ในเซลล์ S2 และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เช่นเดียวกับไวรัสในธรรมชาติ นอกจากนี้ หากมีการฉีดเชื้อเข้าไปในกุ้งแชบ๊วย (P. merguiensis) จะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อขาวภายใน 24 ชั่วโมง และเกิดการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดในช่วง […]

     
  •  
  • Viral Capsid Change upon Encapsulation of Double-Stranded DNA into an Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus-like Particle

    Highlight ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการบรรจุสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอสายคู่ (ขนาด 3.9 กิโลเบส) เข้าไปในบรรจุภัณฑ์นาโน (VLP) ที่พัฒนามาจากไวรัสกุ้ง IHHNV และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผิวไวรัสที่บรรจุและไม่บรรจุดีเอ็นเอ ผู้วิจัยพบว่า IHHNV-VLP สามารถบรรจุดีเอ็นเอขนาดใหญ่ได้ประมาณ 30-40% โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกหุ้มไวรัสอย่างมาก โดยมีเปลือกผิวด้านในหนาขึ้นมากถึง 1.5 เท่า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเปลือกหุ้มภายในและสารดีเอ็นเอที่ถูกบรรจุทำให้เกิดปุ่มนูนจำนวนมากบริเวณผิวชั้นใน การเปลี่ยนแปลงของเปลือกหุ้มภายนอก จะสังเกตเห็นการบิดตัวของอนุภาคแท่งโดยรอบแบบทวนเข็มนาฬิกาบริเวณ 5-fold (ที่มีลักษณะคล้ายยอดภูเขา) ก่อให้เกิดการเปิดกว้างของปล่องที่หลายยอดภูเขา ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อการนำเข้า หรือส่งออกสารพันธุกรรมของไวรัสในขณะที่มีการจำลองตัวเองขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะเหมือนกับการจำลองตัวเองของไวรัสที่เกิดขึ้นในธรรมชาติหรือไม่ยังต้องได้รับการศึกษาต่อไป แต่การบรรจุดีเอ็นเอที่มีขนาดใหญ่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์นาโน IHHNV-VLP […]

     
  •  
  • Infectious hypodermal and hematopoietic necrosis virus-like particle (IHHNV-VLP) induces peroxiredoxin expression and activity in Fenneropenaeus merguiensis

    Highlight อนุภาคเสมือนไวรัส (Virus-like particle, VLP) เป็นอนุภาคที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากไม่มีจีโนมไวรัส และประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยโปรตีนในรูปแบบซ้ำ ๆ ที่มีการเรียงตัวหนาแน่นจนกลายเป็นเปลือกหุ้มไวรัสที่มีคุณสมบัติดีเด่นในด้านกายภาพ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชนิดของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันหลังจากการฉีดอนุภาคเสมือนไวรัส IHHNV ด้วยกรรมวิธี next generation sequencing จากเนื้อเยื่อเหงือก (gill) ของกุ้งแชบ๊วย (F. merguiensis) ผลการทดลองพบว่า มียูนิยีน (Unigene) ที่เพิ่มมากขึ้นจำนวน 326 ตัวในกุ้งที่ฉีดด้วย IHHNV-VLP และยีนที่เด่นที่สุดในตระกูลแอนตี้อ๊อกซิเดชั่นคือยีน […]

     
  •  
  • Shrimp thrombospondin (TSP): presence of O-β1,4 N-acetylglucosamine polymers and its function in TSP chain association in egg extracellular matrix

    Highlight การวิเคราะห์การมีอยู่ของโพลีเมอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วย O-β(1,4)-GlcNAc polymers (β1,4GNP) ที่ยึดเหนี่ยวบน O-linked glycosylation ของ thrombospondin (pmTSP-II) เราพบว่ามี β1,4GNP จำนวน 5 ตัวที่เชื่อมอยู่บนโดเมนคล้ายโกรทแฟคเตอร์เนื้อเยื่อบุของ pmTSP-II การใช้แอนติบอดี้ต่อ O-β-GlcNAc (CTD110.6) เพื่อพิสูจน์การเชื่อมต่อของ β1,4GNP แบบเป็นสายหรือโครงสร้างซับซ้อน พบว่าแอนตี้บอดี้ทำปฏิกิริยากับการเรียงตัวของน้ำตาล 3, 4 และ 5 ตัวที่นำไปต่อเชื่อมกับไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ (phosphatidylethanolamine) […]

     
  •  
  • The oxytocin/vasopressin-like peptide receptor mRNA in the central nervous system and ovary of the blue swimming crab, Portunus pelagicus