SDGs 4. QUALITY EDUCATION
-
A pictorial account of the human embryonic heart between 3.5 and 8 weeks of development
Highlight: พัฒนาการของหัวใจที่สามารถติดตามได้ด้วยตัวเองผ่านภาพสามมิติที่สามารถหมุนดูเพื่อศึกษาพร้อมรายละเอียดพัฒนาการของหัวใจทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงการปริมาณเปรียบเทียบ นำไปสู่พลวัตพัฒนาการของหัวใจที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าในตำราทั่วไป ที่มาและความสำคัญ หัวใจเป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อนในการพัฒนาระหว่างอยู่ในครรภ์เป็นอย่างมากในตัวอ่อนมนุษย์ เนื่องจากพัฒนาการของหัวใจมีความเป็นสามมิติสูงมาก จากท่อตรง ๆ เกิดการขดงอต่าง ๆ จนได้ออกมาเป็นรูปร่างที่พบในมนุษย์ อีกทั้งโครงสร้างภายในเองยังมีการเจริญที่ต้องมีการสอดประสานกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้ห้องตัวใจและหลอดเลือดเข้าและออกจากหัวใจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อแรกคลอด ดังนั้นการเข้าใจกลไกพัฒนาการที่ชัดเจนมากขึ้นนำไปสู่การต่อยอดทางการแพทย์ในการอธิบายและรักษาพัฒนาการที่ผิดปกติของหัวใจในตัวอ่อนมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น Abstract Heart development is topographically complex and requires visualization to understand its progression. No comprehensive 3-dimensional primer […]
-
Reinterpreting Popular Demonstrations for Use in a Laboratory Safety Session That Engages Students in Observation, Prediction, Record Keeping, and Problem Solving
Highlight: งานวิจัยฉบับนี้อธิบายการสาธิต (demonstration) จำนวนทั้งสิ้น 11 เรื่องในแลปปฏิบัติการเคมีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการตั้งคำถาม การสืบเหาะหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืน ที่มาและความสำคัญ การเรียนรู้ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เพิ่งเข้าห้องปฏิบัติการเป็นครั้งแรก โดยทั่วไปการสอนปฏิบัติการเคมีในครั้งแรกมักมีการใช้เพียงแค่การดูวีดีโอและการสาธิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและนำไปสู่การเรียนรู้ของนักศึกษาที่ไม่มากนัก ในงานวิจัยฉบับนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักศึกษาผู้วิจัยได้นำการสาธิตจำนวนทั้งสิ้น 11 เรื่องมาเป็น narrative เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดจากการตั้งคำถาม (inquiry-based learning) และการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง (student-initiated learning) นอกจากนี้ การสาธิตทั้ง 11 เรื่องนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ […]
-
A reverse form of Linburg–Comstock variation with comments on its etiology and demonstration of interactive 3D portable document format
Highlight: งานวิจัยนี้ใช้เทคโนโลยีสามมิติเพื่อรายงานโครงสร้างผันแปรโครงสร้างหนึ่ง (a reverse form of Linburg–Comstock variation) ซึ่งผู้อ่านสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างนี้ได้โดยตรง การรายงานผลงานวิจัยแบบใหม่นี้อาจเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการนำเสนอข้อมูลทางกายวิภาคในอนาคต ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันการสแกนภาพแบบสามมิติ เป็นเทคโนโลยีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีการนำเทคโนโลยีการสแกนภาพสามมิติมาใช้จัดทำเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ และพบว่าส่งผลให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาและระบุตำแหน่งของโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเรียนการสอนแล้วยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับสถาบันการศึกษาที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลนร่างอาจารย์ใหญ่หรือไม่สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบ on-site ได้ในช่วงสภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 นี้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีสแกนภาพสามมิติมาใช้ในเชิงวิจัยยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำภาพสแกนสามมมิติมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงานวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์ ยังไม่เคยพบว่ามีการนำมาใช้ ซึ่งปกติงานวิจัยทางด้านกายวิภาคศาสตร์จะใช้การนำเสนอ รายงานผล แบบรูปภาพสองมิติ (2D) […]
-
Development of the sympathetic trunks in human embryos
Highlight: การเจริญพัฒนาการของ sympathetic trunk มีการเจริญที่แตกต่างกันของโครงสร้างแวดล้อม เป็นผลทำให้ตำแหน่งของ sympathetic trunk มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วง 4 – 10 สัปดาห์ของพัฒนาการในตัวอ่อนมนุษย์ ที่มาและความสำคัญ sympathetic trunk เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกลไกของร่างกายให้ตอบสนองผ่านระบบประสาทอัตโนวัติ ในปัจจุบันได้มีคำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับการเจริญและพัฒนาของโครงสร้างนี้ทั้งในเชิงเซลล์ต้นกำเนิด การเปลี่ยนแปลง และเชิงโมเลกุลอย่างแพร่หลายมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี แต่ก็ยังคงพบว่าการอธิบายการเจริญพัฒนาไม่ได้แสดงถึงโครงสร้างโดยรอบของ sympathetic trunk รวมทั้งโครงสร้างของ sympathetic trunk […]
-
-
-
-