Research output
-
Expression of VEGF165 and VEGF165b during ovarian follicular development
Highlight การแสดงออกของ VEGF165 และ VEGFR เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นฮอร์โมนเอสโตรเจนในระหว่างการพัฒนาของฟอลลิเคิลของวัวและในลักษณะเป็นการหลั่งจากเซลล์ตัวเองไปกระตุ้นเซลล์ตัวเอง (autocrine) หรือการได้รับการกระตุ้นจากเซลล์ข้างเคียง (paracrine) ที่มาและความสำคัญ ฟอลลิเคิล (follicle) ในรังไข่เป็นโครงสร้างสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการสุกของเซลล์ไข่ ในระหว่างการพัฒนาฟอลลิเคิลของรังไข่ การสร้างเส้นเลือดใหม่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มปริมาณเลือดไปยังฟอลลิเคิลของรังไข่ Vascular epithelial growth factor หรือ VEGF หรือที่เรียกอีกอย่างว่า VEGFA เป็นตัวควบคุมหลักของการสร้างเส้นเลือดใหม่ในรังไข่ VEGFA ประกอบด้วยไอโซฟอร์มหลายชนิด ไอโซฟอร์มที่สำคัญคือ VEGF165 ช่วยทำให้มีกระกระตุ้นให้มีอัตราการเกิด antral […]
-
Alleviative and Anti-Inflammatory effects of tuna blood hydrolysates on MPP+ and TNF-α – induced Parkinson-Like disease model through the regulation of Keap1-Nrf2 antioxidant pathway and apoptosis
Highlight TBH alleviates MPP+ and TNF-α-induced cell death in differentiated SH-SY5Y cells. ที่มาและความสำคัญ พยาธิสรีรวิทยาของโรคพาร์กินสันเชื่อมโยงกับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบในสมองจนกระทั่งทำให้เกิดการตายของเซลล์ประสาทชนิดโดปามิเนอร์จิคในสมองส่วน substantia nigra pars compacta (SNpc) การรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันคือการใช้ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาเลโวโดปา แต่ยาหลายๆชนิดนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ นอกจากนี้การใช้ยาในระยะยาวอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงได้ ดังนั้นการวิจัยในปัจจุบันจึงเน้นที่จะใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมาใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการหรือรักษาโรคพาร์กินสันหรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ เนื่องจากอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเกิดผลข้างเคียงได้น้อย ในระยะหลังๆนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นรายงานว่า โปรตีนไฮโดรไลเสตจากปลามีสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบและลดตายของเซลล์หลายชนิด ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท […]
-
Anatomical study and meta-analysis of the episternal ossicles
Highlight การศึกษานี้ประกอบด้วยการศึกษาจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography) และการวิเคราะห์อภิมานจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิก 3 แหล่งได้แก่ Google Scholar, PubMed, and Journal Storage ผลงานวิจัยพบว่า จากคนไข้จำนวน 7,997 รายจากผลงานตีพิมพ์กว่า 16 ฉบับ episternal ossicles มีความชุกอยู่ที่ 2.1% โดยการศึกษาด้วย X-ray มีความชุกสูงสุดอยู่ที่ 7% และประชากรเอเชียมีความชุกของ episternal ossicles […]
-
Radiological Study of Atlas Arch Defects with Meta-Analysis and a Proposed New Classification
Highlight ความผิดปกติของกระดูกสันหลังคอชิ้นบนสุดหรือ atlas ที่เรียกว่า atlas arch defect เป็นความผิดปกติที่พบได้ไม่มากนัก ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นเมื่อมีร่องบริเวณ anterior arch หรือ posterior arch ของกระดูก atlas หากเกิดขึ้นทั้งสองบริเวณจะเรียกว่า combined arch defect ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ศึกษาความชุกของ arch defect ในประชากร 606 ราย ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระแบบ วิเคราะห์อภิมานเพื่อศึกษาความชุกของ arch defect […]
-
-
-
-
-
-