Research output
-
A Novel Direct Pathway of Dural Venous Outflow from the Basilar Venous Plexus via the Diploic Space of the Clivus
Highlight งานวิจัยฉบับนี้อธิบายถึงทางเดินใหม่ของการไหลของเลือดดำจาก dural venous sinus ไปยัง basilar venous plexus ผ่านทาง diploic space ของกระดูก clivus ซึ่งเป็นการค้นพบใหม่และยังไม่มีการอธิบายมาก่อนในตำรากายวิภาคศาสตร์ ที่มาและความสำคัญ ระบบหลอดเลือดดำไขสันหลังมีความซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายของหลอดเลือดไร้วาล์วที่ไหลผ่านระบบหลอดเลือดดำในสมองและกระดูกสันหลัง เครือข่ายของหลอดเลือดดำในกะโหลกศีรษะประกอบด้วยหลอดเลือดดำ intracranial, dural venous sinus, หลอดเลือดดำ diploic และหลอดเลือดดำ emissary อย่างไรก็ตาม นอกจากระบบหลอดเลือดดำไขสันหลังจะก่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดดำกลับเข้าหัวใจแล้ว ยังเป็นตัวช่วยปรับความดันภายในกะโหลกศีรษะอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของท่าทาง […]
-
Morphometric analysis of dry atlas vertebrae in a northeastern Thai population and possible correlation with sex
Highlight งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาสัณฐานของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกหรือ atlas และศึกษาผลของเพศต่อขนาดและสัณฐานของกระดูกชิ้นนี้ด้วยปัญญาประดิษฐ์ งานวิจัยฉบับนี้ใช้กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นแรกจำนวนทั้งสิ้น 104 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยกระดูกจากผู้บริจาคร่างกายเพศชาย 54 ชิ้น และเพศหญิง 50 ชิ้น เพื่อวัดความยาวของ 12 พารามิเตอร์ (ระยะทาง a ถึง l) จากจุดสังเกตทางกายวิภาคจำนวน 23 จุด ผลการวิจัยพบว่า 8 จาก 12 พารามิเตอร์ มีความยาวที่มากกว่าในเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังนำความยาวของพารามิเตอร์เหล่านี้มาวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อจำแนกเพศ […]
-
Combination Vaccines of Fasciola gigantica Saposin-like Protein-2 and Leucine Aminopeptidase
วัคซีนผสม saposin-like protein-2 และ leucine aminopeptidase ในการต้านโรคพยาธิใบไม้ตับ Highlight การศึกษาวัคซีนต้านโรคพยาธิใบไม้ตับโดยใช้วัคซีนผสมของสองโปรตีนนี้ในหนูทดลองพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อพยาธิได้ถึงร้อยละ 80.7-81.4 และยังสามารถกระตุ้นการทำงานของแอนติบดี IgG1 และ IgG2a ได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้ตับถูกทำลายน้อยลง ดังนั้นจึงน่าสนใจในการพัฒนาการใช้วัคซีนผสมของโปรตีน SAP-2 และ LAP ในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิในสัตว์ใหญ่ต่อไป ที่มาและความสำคัญ โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ Fasciola ซึ่งการรักษาโดยยาในปัจจุบันทำให้เกิดผลข้างเคียงและนำไปสู่การดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้น การรักษาโดยใช้วัคซีนจึงเป็นแนวทางใหม่ในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับได้ โดยเลือกศึกษาโดยใช้โปรตีน saposin-2 (SAP) และ […]
-
Ethyl Acetate Extract of Halymenia durvillei Induced Apoptosis, Autophagy, and Cell Cycle Arrest in Colorectal Cancer Cells
ฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายลิ้นมังกรในการต้านเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการกระตุ้นการตายของเซลล์แบบ apoptosis และ autophagy Highlight การศึกษาการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายลิ้นมังกร Halymenia durvillei (HD) ในการต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าสารสกัดจากสาหร่ายลิ้นมังกรในชั้น ethyl acetate สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HT-29) ยับยั้งการแบ่งเซลล์กระตุ้นกระบวนการตายของเซลล์แบบ apoptosis และ autophagy รวมถึงการยับยั้งการแสดงออกของยีนในกลไก PI3K, AKT และ mTOR ได้ จึงสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดจากสาหร่ายลิ้นมังกรในชั้น ethyl acetate สามารถต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยผ่านทางกลไก […]
-
-
-
-
-
-