Research output
-
Neuroprotection of Andrographolide against Neurotoxin MPP+-Induced Apoptosis in SH-SY5Y Cells via Activating Mitophagy, Autophagy, and Antioxidant Activities
Highlight สาร Andro มีฤทธิ์หลากหลายทางเภสัชวิทยา แต่ในการศึกษานี้ได้ศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันการตายของเซลล์ประสาทสายพันธุ์นิวโรบลาสโตมา SH-SY5Y ที่จำลองแบบโรคพาร์กินสันโดยใช้สารพิษต่อระบบประสาท MMP+ การป้องกันนี้ได้ผ่านกระบวนการ mitophagy, กำจัดโปรตีน alpha-synuclein ผ่านทาง autophagy และ เพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สาร Andro มีคุณสมบัติที่จะเป็นอีกทางเลือกนึงในการป้องกันโรคพาร์กินสัน ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสัน เกี่ยวข้องกับการสูญเสียเซลล์โดปามีนและการรวมกันของ alpha-synuclein ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสร้างสารอนุมูลอิสระที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของไมโตคอนเดรียและกระบวนการออโตฟาจี (autophagy) ตามลำดับ ในปัจจุบันได้มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสาร Andrographolide หรือ Andro […]
-
The superficial peroneal neurocutaneous flap: a cadaveric study
Highlight การรักษาแผลที่ข้อเท้าโดยการปลูกถ่ายผิวหนังและเนื้อเยื่อจากหลังเท้าในอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มเสมือนจริง ที่มาและความสำคัญ บาดแผลบริเวณข้อเท้าที่ตื้นและเล็กสามารถรักษาโดยการเย็บปิดแผลปกติ แต่บาดแผลที่ลึกจนถึงเส้นเอ็นหรือกระดูกและกว้างเกินกว่าที่จะเย็บปิดควรรักษาด้วยการปลูกถ่ายผิวหนังและเนื้อเยื่อจากบริเวณใกล้เคียงกับแผลซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า ผู้วิจัยได้ศึกษาผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณหลังเท้าซึ่งถูกเลี้ยงโดยแขนงเส้นประสาทและแขนงหลอดเลือดจำเพาะเพื่อปลูกถ่ายทดแทนบริเวณแผลที่ข้อเท้าในร่างอาจารย์ใหญ่แบบนิ่มเสมือนจริง ข้อดีของการใช้ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณหลังเท้าเพื่อรักษาแผลที่ข้อเท้า ได้แก่ เนื้อเยื่อหลังเท้ามีขนาดบางเพราะไขมันใต้ผิวหนังน้อยทำให้หลังปลูกถ่ายที่ข้อเท้าแล้วไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อเท้าและการสวมใส่รองเท้า ทั้งเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายมีเส้นประสาทเลี้ยงจึงทำให้ผิวหนังบริเวณที่ปลูกถ่ายทดแทนสามารถรับความรู้สึกได้ และเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่หลังเท้า ณ ตำแหน่งเดิมยังเป็นปกติเนื่องจากหลอดเลือดหลักที่เลี้ยงเท้ายังคงอยู่ Abstract Background Soft tissue defects around the ankle are common and must be covered with thin and […]
-
Anatomical variants identified on chest computed tomography of 1000+ COVID-19 patients from an open-access dataset
Highlight งานวิจัยนำร่องฉบับนี้เป็นงานวิจัยแรกของสาขาที่ใช้ชุดข้อมูลสาธารณะมาเป็นข้อมูลดิบในการทำงานวิจัยทางกายวิภาคซึ่งเป็นระเบียบวิธีใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษาใดกระทำมาก่อน ที่มาและความสำคัญ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ของทรวงอกมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในช่วงต้นของการระบาดของโรค COVID-19 เนื่องจากเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ชุดภาพ CT ทรวงอกของผู้ป่วยด้วยโรค COVID-19 จำนวนมากถูกอัปโหลดไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งนักวิจัยจากทั่วโลกสามารถนำไปใช้เพื่อดำเนินงานวิจัยในด้านการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้เพื่อตรวจพบโรค COVID-19 อย่างไรก็ตาม การนำชุดข้อมูลสาธารณะเหล่านี้มาใช้ในงานวิจัยด้านอื่นยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาความชุกของโครงสร้างแปรผันทางกายวิภาค (anatomical variations) เป็นที่รู้จักกันดี 6 ชนิดในทรวงอกโดยใช้ชุดภาพ CT สาธารณะของผู้ป่วยด้วยโรค COVID-19 ชาวอิหร่านกว่า […]
-
A reverse form of Linburg–Comstock variation with comments on its etiology and demonstration of interactive 3D portable document format
Highlight งานวิจัยฉบับนี้สแกนร่างอาจารย์ใหญ่ด้วยเครื่องแสกนแบบสามมิติและนำเสนอผลงานในรูปแบบ 3D-PDF การนำเสนอผลงานในรูปแบบนี้เป็นมิติใหม่ของการนำเสนอผลงานวิจัยและอาจเป็นมาตรฐานใหม่ในงานวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์ในอนาคต ที่มาและความสำคัญ โครงสร้างแปรผัน Linburg-Comstock คือเส้นเอ็น เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน หรือกล้ามเนื้อที่เกาะจากเส้นเอ็น flexor pollicis longus (FPL) ไปยัง flexor digitorum profundus (FDP) ของนิ้วชี้ ซึ่งพบได้ในร้อยละ 21 ของประชากรทั่วไป ซึ่ง distal interphalangeal joint ของนิ้วชี้บุคคลที่มีโครงสร้างนี้จะงอไปพร้อม ๆ กันเมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ […]
-
-
-
-
-
-