Research output
-
Sulfated Galactans from Gracilaria fisheri with Supplementation of Octanoyl Promote Wound Healing Activity In Vitro and In Vivo
Highlight การปรับขนาดสารสกัดซัลเฟต กาแลคแตนจากสาหร่ายผมนางให้มีขนาดเล็กลง เพิ่มหมู่ออคทาโนอิล (Octanoyl) และหมู่ซัลเฟต มีผลเพิ่มฤทธิ์การปิดบาดแผลในโมเดลบาดแผลเซลล์ไฟโบรบลาสและในหนูทดลอง Mw: weight-average molecular weight; Mn: number-average molecular weight; Mz: z-average molecular weight; nd: not determined. ที่มาและความสำคัญ ในผู้สูงวัยกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลจะเกิดขึ้นช้าลง กระบวนการหายของแผลที่ล่าช้ามีผลต่อการติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่ตามมา อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ การใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้รักษาและเร่งกระบวนการสมานแผลได้ งานวิจัยนี้เพิ่มศักยภาพการปิดบาดแผลของสารซัลเฟต กาแลคแตน จากสาหร่ายผมนางโดยการเติมหมู่ออคทาโนอิล […]
-
Depolymerized Fractions of Sulfated Galactans Extracted from Gracilaria fisheri and Their Antibacterial Activity against Vibrio parahaemolyticus and Vibrio harveyi
Highlight การปรับโครงสร้างสารสกัดซัลเฟต กาแลคแตนจากสาหร่ายผมนางมีผลเพิ่มฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคในกุ้งชนิดVibrio parahaemolyticus และ Vibrio harveyi ที่มาและความสำคัญ อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบผลผลิตต่ำจากการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคVibrio parahaemolyticus และ Vibrio harveyi งานวิจัยก่อนหน้าพบสารซัลเฟตโพลิแซคคาไรด์ธรรมชาติที่สกัดจากสาหร่ายผมนางมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารกลุ่มโพลิแซคคาไรด์มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักโมเลกุลและโครงสร้างทางเคมี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างสารซัลเฟตกาแลคแตนสกัดธรรมชาติจากสาหร่ายผมนางโดยการย่อยให้มีขนาดเล็กลง ศึกษาโครงสร้างและทดสอบการเพิ่มศักยภาพในการยับยั้งการเจริญและฆ่าแบคทีเรียของสารที่ได้จากการปรับโครงสร้างเปรียบเทียบกับสารสกัดธรรมชาติ เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้สารสกัดจากสาหร่ายผมนางผสมเป็นสูตรอาหารกุ้งต่อไป Abstract Various seaweed sulfated polysaccharides have been explored for antimicrobial […]
-
Infectivity and virulence of the infectious Macrobrachium rosenbergii nodavirus produced from Drosophila melanogaster cell using Penaeus merguiensis as an infection model
Highlight นักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองการแบ่งตัวและการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ในระบบเพาะเลี้ยงกับเซลล์แมลง ซึ่งมีข้อดีในการเพิ่มจำนวนไวรัสได้จำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้นำระบบเพาะเลี้ยงดังกล่าวมาใช้ในการผลิตและเพิ่มจำนวนไวรัส MrNV ในเซลล์แมลง S2 โดยการจำลองการติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ S2 เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเก็บน้ำเพาะเลี้ยงเซลล์ที่มีอนุภาคไวรัส MrNV ที่ถูกปลดปล่อยออกมา แล้วนำเชื้อดังกล่าวมาทดสอบการติดเชื้อในเซลล์ S2 ใหม่อีกรอบ เพื่อทดสอบความสามารถของไวรัสในการติดเชื้อซ้ำ พบว่ามีการปรากฏของไวรัสใหม่ในเซลล์ S2 และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เช่นเดียวกับไวรัสในธรรมชาติ นอกจากนี้ หากมีการฉีดเชื้อเข้าไปในกุ้งแชบ๊วย (P. merguiensis) จะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อขาวภายใน 24 ชั่วโมง และเกิดการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดในช่วง […]
-
Viral Capsid Change upon Encapsulation of Double-Stranded DNA into an Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus-like Particle
Highlight ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้ทำการบรรจุสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอสายคู่ (ขนาด 3.9 กิโลเบส) เข้าไปในบรรจุภัณฑ์นาโน (VLP) ที่พัฒนามาจากไวรัสกุ้ง IHHNV และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผิวไวรัสที่บรรจุและไม่บรรจุดีเอ็นเอ ผู้วิจัยพบว่า IHHNV-VLP สามารถบรรจุดีเอ็นเอขนาดใหญ่ได้ประมาณ 30-40% โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกหุ้มไวรัสอย่างมาก โดยมีเปลือกผิวด้านในหนาขึ้นมากถึง 1.5 เท่า ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเปลือกหุ้มภายในและสารดีเอ็นเอที่ถูกบรรจุทำให้เกิดปุ่มนูนจำนวนมากบริเวณผิวชั้นใน การเปลี่ยนแปลงของเปลือกหุ้มภายนอก จะสังเกตเห็นการบิดตัวของอนุภาคแท่งโดยรอบแบบทวนเข็มนาฬิกาบริเวณ 5-fold (ที่มีลักษณะคล้ายยอดภูเขา) ก่อให้เกิดการเปิดกว้างของปล่องที่หลายยอดภูเขา ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อการนำเข้า หรือส่งออกสารพันธุกรรมของไวรัสในขณะที่มีการจำลองตัวเองขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะเหมือนกับการจำลองตัวเองของไวรัสที่เกิดขึ้นในธรรมชาติหรือไม่ยังต้องได้รับการศึกษาต่อไป แต่การบรรจุดีเอ็นเอที่มีขนาดใหญ่เข้าไปในบรรจุภัณฑ์นาโน IHHNV-VLP […]
-
-
-
-
-
-