Research output
-
Toxicity and Anti-Oxidation Capacity of The Extracts from Caulerpa lentillifera
การทดสอบความเป็นพิษและประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่น Highlight: สารสกัดจากสาหร่ายพวงองุ่นด้วยเอทานอล (CLET) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีและมีความเป็นพิษต่ำ ขณะที่สารสกัดด้วยเฮกเซนและเอทิลอะซิเตท (CLHE และ CLEA) ควรใช้ในความเข้มข้นที่เหมาะสมที่ไม่เกิน 500 และ 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เพื่อให้ได้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ที่มาและความสำคัญสาหร่ายพวงองุ่นได้มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ในการศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษและศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นใน 5 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งตามลักษณะการสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน ได้แก่ เอทานอล (CLET) เฮกเซน (CLHE) เอทิลอะซิเตท (CLEA) บิวทานอล (CLBU) […]
-
Mannose glycoconjugates on the surface of A23187-activated sperm in the giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii are crucial for the binding process with the egg vitelline envelop
Highlight: เห็นถึงความสำคัญของน้ำตาล mannose บนผิวของอสุจิ ว่าสามารถใช้เป็นได้ทั้งตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของอสุจิเอง และยังบ่งบอกว่าน้ำตาลบนผิวของอสุจิมีความเกี่ยวข้องกับการจับและการเจาะไข่อีกด้วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำให้เราเข้าใจกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไข่กับเสปิร์มในสปีชีส์นี้ดีขึ้น และอาจสามารถใช้น้ำตาลบนผิวอสุจิเพื่อพัฒนาในการผสมเทียมในกุ้งก้ามกรามต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย ที่มาและความสำคัญ โครงสร้าง acrosome (ถุงเอนไซม์ในการเจาะไข่) ของตัวอสุจิ และการปล่อยเอนไซม์ออกมา สามารถระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ ในสัตว์ชนิดอื่นสามารถระบุโครงสร้างนี้ได้ง่าย แต่โครงสร้าง acrosome ในกุ้งก้ามกรามเป็นโครงสร้างที่ระบุยาก ทำให้ไม่สามารถที่จะระบุความสมบูรณ์ของอสุจิได้ด้วยตาเปล่า และอสุจิแต่ละส่วนในถุงเก็บอสุจิและท่ออสุจิก็มีความพร้อมในการผสมพันธุ์ไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามอสุจิในท่อนำอสุจิส่วนปลายซึ่งปกติยังไม่สมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ แต่สามารถกระตุ้นให้พร้อมด้วย calcium ionophore A23187 เพราะเมื่อกระตุ้นแล้วพบว่ามีเอนไซม์ถูกปล่อยออกมาทำงาน และเพิ่มความสามารถในการจับและการเจาะไข่ อย่างไรก็ตามเอนไซม์เหล่านี้มีการทำงานในระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ไม่สามารถใช้การปลดปล่อยเอนไซม์ […]
-
Effect of Combining EGFR Tyrosine Kinase Inhibitors and Cytotoxic Agents on Cholangiocarcinoma Cells
ที่มาและความสำคัญ ตัวรับ Epidermal growth factor receptor (ErbB) เป็นโปรตีนเป้าหมายที่สำคัญในการวิจัยและพัฒนายาต้านมะเร็ง การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 ในมะเร็งท่อน้ำดีพบการให้ยาเป้าหมายต่อตัวรับ ErbB Erlotinib ไม่ให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ และการให้ยาเคมีบำบัดมาตรฐาน Gemcitabine/Cisplatin ไม่ให้ผลสัมฤทธิ์ในผู้ป่วยเช่นกัน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของยาเป้าหมายต่อตัวรับ ErbB ชนิดต่าง ๆ เมื่อใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในการยับยั้งเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี การศึกษาในชิ้นเนื้อผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีพบการแสดงออกของตัวรับ ErbB ชนิดต่าง ๆในระดับสูง การให้ยาเป้าหมาย Afatinib และยาเคมี Gemcitabine […]
-
Nutritional value of the amphipod Bemlos quadrimanus sp. grown in shrimp biofloc ponds as influenced by different carbon sources
ที่มาและความสำคัญ แอมฟิพอด (amphipod) ในตะกอนชีวภาพ (bioflocs) เป็นอาหารทางธรรมชาติที่มีสารอาหารสูงเหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสปีชีส์ของแอมฟิพอดในบ่อเลี้ยงกุ้งที่ใช้ระบบตะกอนชีวภาพ (biofloc technology) ที่ฟาร์มกุ้ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและการเพิ่มจำนวนของแอมฟิพอดในบ่อระบบตะกอนชีวภาพ โดยนำพ่อแม่พันธุ์ของแอมฟิพอดมาทำการทดลองเลี้ยงด้วยแหล่งคาร์บอน (carbon sources) ที่ต่างชนิดกัน คือกากน้ำตาล (molasses) รำข้าว(rice bran) และแป้งข้าวโพด (corn flour) ที่ระดับอัตราของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N) ratio เท่ากับ 16:1 เป็นเวลา […]
-
-
-
-
-
-