SDGs
-
A Bird’s-Eye View of Endangered Species Conservation: Avian Genomics and Stem Cell Approaches for Green Peafowl (Pavo muticus)
Highlight ประมาณ 12% ของจำนวนประชากรสัตว์ปีกถูกคุกคามจนมีสถานะเข้าใกล้สูญพันธุ์ นกยูงไทยหรือนกยูงเขียวเป็นหนึ่งในสัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากจำนวนประชากรลดลงมากจากหลายปัจจัยเช่น พื้นที่อาศัยถูกทำลาย การปนเปื้อนทางพันธุกรรมจากนกยูงอินเดีย การล่าเพื่อเอาขนและเนื้อเป็นต้น การรายงานครั้งนี้กล่าวถึงชีววิทยาของนกยูงไทยในมุมมองของกายวิภาคและเอ็มบริโอโลยีเชิงเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีโอมิกส์ในสัตว์ปีกเพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งข้อมูลทางพันธุกรรม และเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดโดยเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเหนี่ยวนำเพื่อประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์นกยูงไทยและสัตว์ปีกชนิดอื่นที่ใกล้สูญพันธุ์ต่อไป ที่มาและความสำคัญ สัตว์ปีกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีจำนวนสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์และสูญพันธุ์ไปแล้วสูงเป็นลำดับที่สองของอาณาจักรสัตว์ เป็นที่น่าสังเกตว่าองค์กร IUCN จัดนกยูงไทยหรือนกยูงเขียวไว้ในรายชื่อบัญชีแดงของสิ่งมีชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ การรายงานครั้งนี้มุ่งเน้นถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์และการสืบพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถใช้ทำนายแนวโน้มของจำนวนประชากรนกยูงไทยในป่าและช่วยในการผสมพันธุ์นกยูงไทยนอกเขตพื้นที่อาศัย นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดดังกล่าวในรูปแบบของการเก็บลำดับสารพันธุกรรมไว้เป็นธนาคารชีวภาพ อีกทั้งการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมยังช่วยจำแนกนกยูงไทยแต่ละชนิดได้ถูกต้องเพื่อใช้เพิ่มจำนวนชนิดพันธุ์ การรายงานครั้งนี้ยังกล่าวถึงจีโนมิกส์สัตว์ปีกและการใช้เทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเป็นความหวังในการอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เช่นนกยูงไทย และชนิดอื่นที่ถูกคุกคามจนมีสถานะที่เข้าค่ายใกล้สูญพันธุ์ Abstract Aves ranks among the top two […]
-
2-Butoxytetrahydrofuran, Isolated from Holothuria scabra, Attenuates Aggregative and Oxidative Properties of α-Synuclein and Alleviates Its Toxicity in a Transgenic Caenorhabditis elegans Model of Parkinson’s Disease
ฤทธิ์ของสาร 2-Butoxytetrahydrofuran จากปลิงทะเลขาวในการลดการเกาะกลุ่มและความเป็นพิษจาก α-Synuclein ในสัตว์ทดลอง Caenorhabditis elegans Highlight สารสกัด 2-butoxytetrahydrofuran (2-BTHF) จากปลิงทะเลขาว Holothuria scabra สามารถลดการเกาะกลุ่มของโปรตีน α-synuclein กระบวนการออกซิเดชัน และการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทโดปามีน รวมถึงฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของสัตว์ทดลองได้ โดยมีกลไกการทำงานในการเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพของโปรตีนและการเผาผลาญกรดไขมัน และเพิ่มการสังเคราะห์กลูตาไธโอน ที่มาและความสำคัญ ปลิงทะเลมีฤทธิ์ป้องกันโรคความเสื่อมของระบบประสาทและฟื้นฟูเซลล์ประสาทจากการถูกทำลาย โดยมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ 2-Butoxytetrahydrofuran (2-BTHF) โดยสามารถลดการเกาะกลุ่มและความเป็นพิษของ amyloid-beta ในโรคอัลไซเมอร์ได้ การศึกษาวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการออกฤทธิ์ของ […]
-
Adding MYC/BCL2 double expression to NCCN-IPI may not improve prognostic value to an acceptable level
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 ในสูตร NCCN-IPI อาจไม่เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์โรคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ Highlight การเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 ในสูตร NCCN-IPI อาจไม่เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์โรคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ที่มาและความสำคัญ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด DLBCL ที่มีการแสดงออกของโปรตีน MYC และ BCL2 จะมีความรุนแรงมากและมีอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยน้อย คณะวิจัยจึงได้นำข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยโรคนี้จำนวน 111 คน วิเคราะห์ทางสถิติและพบว่าการเพิ่มการแสดงออกของโปรตีน MYC และ […]
-
Neuroinflammation-induced neurodegeneration and associated microglia activation in Parkinson’s disease: anovel neurotherapeutic avenue
Highlight การลดการทำงานของ M1 และส่งเสริมการทำงานของ M2 เป็นแนวทางใหม่ที่ท้าทายและมีแนวโน้มในการรักษาโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันมีกลยุทธ์ใหม่ๆในการบรรเทาการอักเสบที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่นการใช้อนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาบริเวณการอักเสบที่แม่นยำ และการบรรเทาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสันจัดเป็นโรคทางระบบประสาทประเภทหนึ่ง ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเป็นอาการทางคลินิกที่พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน การอักเสบของระบบประสาทเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสันที่เกี่ยวของกับไมโครเกลีย ไมโครเกลียคือเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการอักเสบของระบบประสาท ในบทความฉบับนี้ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการอักเสบของระบบประสาทที่กระตุ้นด้วยไมโครเกลียและความสัมพันธ์ของการอักเสบในระบบประสาทกับโรคพาร์กินสัน พร้อมทั้งวิธีการรักษาในปัจจุบัน ภายใต้สภาวะปกติไมโครเกลียชนิด M0 จะทำหน้าที่เฝ้าระวังในสมองและตรวจสอบการบุกรุกที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งยังควบคุมการผลิตเซลล์ประสาท สร้างไซแนปส์ใหม่ และหลั่งโมเลกุลควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อปกป้องเซลล์ประสาท ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยา M0 จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบฟีโนไทป์ที่ทำงานโดยแบ่งออกเป็นไมโครเกลียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (M1) และไมโครเกลียที่ต้านการอักเสบ (M2) M1 และ […]
-
-
-
-
-
-