SDGs 14. LIFE BELOW WATER
-
Exerting DNA Damaging Effects of the Ilimaquinones through the Active Hydroquinone Species
Highlight: สาร ilimaquinone มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากโดยทำให้ DNA ของเซลล์มะเร็งเสียหาย ผ่านกระบวนการ in-situ transformation ไปเป็นสาร active hydroquinones Abstract Possessing the quinone moiety, ilimaquinone (1), a sponge–derived sesquiterpene quinone, has been hypothesised to express its cytotoxicity […]
-
Dual VP28 and VP37 dsRNA encapsulation in IHHNV virus-like particles enhances shrimp protection against white spot syndrome virus
Highlight: ปัจจุบัน ได้มีหลักฐานของการใช้บรรจุภัณฑ์นาโนที่บรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ (dsRNA) เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสในกุ้งที่สามารถหวังผลสัมฤทธิ์ได้สูง ในการศึกษาครั้งนี้ เราจึงทดสอบการใช้บรรจุภัณฑ์นาโนเพื่อบรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ 2 ชนิดพร้อมกัน (Co-encapsulation) คือ สารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP28 และ VP37 ของไวรัสก่อโรคตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (WSSV) จำนวนอย่างละ 5 ไมโครกรัม เพื่อทดสอบความสามารถในการลดปริมาณเชื้อไวรัสในกุ้ง ผลการทดลองพบว่า สารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP37 สามารถบรรจุเข้าไปในช่องว่างของบรรจุภัณฑ์นาโนได้มากกว่าสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP28 และให้ผลในการป้องกันเชื้อไวรัส WSSV ได้ดีกว่าการบรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์เพียงชนิดเดียว โดยทดสอบจากปริมาณของยีนและจำนวนตัวไวรัส […]
-
Calcineurin subunit B is involved in shell regeneration in Haliotis diversicolor
แคลซินิวรินบี เกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือกหอยเป๋าฮื้อ Highlight: คุณสมบัติของเปลือกหอยจะประกอบด้วยชั้นของแคลเซียมคาร์บอเนต ที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นย่อยของเปลือกหอย โดยการเรียงตัวของสารเกลือแร่เหล่านี้จะถูกควบคุมโดยยีนและโปรตีนที่สร้างออกมาจากเนื้อเยื่อส่วนแมนเทิลที่อยู่ใต้เปลือกหอยนั่นเอง ในการทดลองนี้ เราได้จำลองกระบวนการการทำลายขอบของเปลือกหอย และทดสอบความเกี่ยวข้องของยีนแคลซินูริน ชนิดเอ และ บี (HcCNA & HcCNB) ในการกระตุ้นการสร้างเปลือกทดแทน ผลการทดลองพบว่า ในหอยที่มีการทำลายขอบของเปลือก จะมีระดับยีนของ HcCNB มีการเพิ่มจำนวนสูงมาก เมื่อเทียบกับยีนส์ HcCNA การทดลองฉีดโปรตีน recHcCNB ที่สร้างจากกระบวนการพันธุวิศวกรรม มีผลในการกระตุ้นการเจริญของเปลือกในบริเวณที่ถูกทำลายได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างควบคุม การสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) […]
-
Diterpene glycosides from Holothuria scabra exert the α-synuclein degradation and neuroprotection against α-synuclein-Mediated neurodegeneration in C. elegans model
ฤทธิ์ของ diterpene glycosides จากปลิงทะเลขาวในการสลายโปรตีนแอลฟ่าซิลนิวคลีอินและป้องกันเซลล์ประสาทจากการถูกทำลายในสัตว์ทดลองต้นแบบ C. elegans Highlight: สารสกัด diterpene glycosides จากปลิงทะเลขาว สามารถลดการสะสมของโปรตีน α-synuclein และป้องกันเซลล์ประสาทสร้างโดปามีนจากการถูกทำลายด้วยโปรตีน α-synuclein ที่สะสมมากเกินไปในโรคพาร์กินสัน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ ผ่านทางยีน lc-3/lgg-1 และ atg-7/atg-7 ในกลไก autophagy ที่มาและความสำคัญ ปลิงทะเลขาวมีคุณค่าทางอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมายาวนาน โดยผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าสารสกัดหยาบของปลิงทะเลขาวมีฤทธิ์ป้องกันเซลล์ประสาทในโรคพาร์กินสันได้ ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้จึงได้ทำการสกัดแยกสาร diterpene glycosides […]
-
-
-
-
-
-