Research output
-
The oxytocin/vasopressin-like peptide receptor mRNA in the central nervous system and ovary of the blue swimming crab, Portunus pelagicus
Highlight: ลำดับเบสของยีนตัวรับ oxytocin/vasopressin-like peptide ในปูม้าถูกค้นพบและสามารถใช้ในการทำนายลำดับโปรตีนได้ ที่มาและความสำคัญปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการบริโภคกันในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ดังนั้นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ของปูม้าจึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปูม้าเพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มผลผลิตในการเลี้ยงปูม้าต่อไป ซึ่งมีการศึกษาก่อนหน้าพบว่ากรดอะมิโนสายสั้นๆ ที่เรียกว่า oxytocin/vasopressin-like peptide (OT/VP-like peptide) มีผลต่อการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนสเตอรอยด์จากรังไข่ งานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อศึกษาหาลำดับสารพันธุกรรมของตัวรับ OT/VP-like peptide (OT/VP-like peptide receptor) และทำให้ค้นพบลำดับสารพันธุกรรม mRNA ที่มีการแปลรหัสเป็นตัวรับของ OT/VP-like peptide ในปูม้าได้สำเร็จ จึงสามารถทำนายลักษณะโครงสร้างของโปรตีนตัวรับจากลำดับโปรตีนที่ถอดรหัสออกมาได้ […]
-
Brain-derived neurotrophic factor increases cell number of neural progenitor cells derived from human induced pluripotent stem cells
Highlight: โปรตีน BDNF สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาทและเซลล์ประสาทในเซลล์ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ ที่มาและความสำคัญ โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคหนึ่งในความเสื่อมของระบบประสาท การคิดค้นหาตัวยาหรือปัจจัยที่มีผลต่อการลดพยาธิสภาพหรือลดความรุนแรงของโรคจึงมีส่วนสำคัญต่อผู้ป่วยโรคนี้ โปรตีน Brain-derived neurotrophic factor (BDNF) เป็นโปรตีนที่ควบคุมกระบวนการสร้างเซลล์ระบบประสาทใหม่ แต่การทดสอบผลของโปรตีนนี้ต่อเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์ระบบประสาทในโรคอัลไซเมอร์ที่มียีนกลายพันธุ์ที่จำเพาะยังขาดการศึกษาและความเข้าใจอยู่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาฤทธิ์ของโปรตีน BDNF ต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาท การเพิ่มความยาวของแขนงประสาท โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาทที่พัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดแบบชักนำ (induced pluripotent stem cells) ของคนสุขภาพปกติและคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นเซลล์ต้นแบบ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการส่งทอดสัญญาณเข้าสู่เซลล์ที่จำเพาะต่อ BDNF ต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาท ซึ่งพบว่าโปรตีน BDNF สามารถเพิ่มจำนวนของเซลล์ต้นกำเนิดระบบประสาทและเซลล์ประสาท […]
-
Generation of human induced pluripotent stem cell line (MUi026-A) from a patient with autosomal dominant polycystic kidney disease carrying PKD1 point mutation
Highlight: งานวิจัยนี้สามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดแบบชักนำจากผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมเด่นที่มีการกลายพันธุ์ของยีน PKD1 ได้สำเร็จ ที่มาและความสำคัญ โรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมเด่น (autosomal dominant polycystic kidney disease, ADPKD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ภาวะไตวายได้ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการกลายพันธุ์ของยีน polycystic kidney disease 1 (PKD1) หรือ PKD2 เพื่อเป็นการสร้างแบบจำลองของโรคในระดับเซลล์และจำเพาะต่อยีน PKD1 งานวิจัยนี้จึงสร้างเซลล์กำเนิดแบบชักนำ (induced pluripotent stem cells, iPS […]
-
Noise Exposures Causing Hearing Loss Generate Proteotoxic Stress and Activate the Proteostasis Network
ผลของเสียงดังในระดับที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินส่งผลต่อการเกิดสภาวะเครียดและความเป็นพิษต่อโปรตีน และการเกิดการกระตุ้นของเครือข่ายการรักษาสมดุลโปรตีน Highlight: การได้ยินเสียงที่ดังมากเกินไปจนถึงในระดับของมลภาวะทางเสียงนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินได้ โดยกลไกที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินนั้นเกิดจากสาเหตุของระบบประสาทการได้ยิน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเสียงในระดับต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรติโอมและการวัดการทำงานต่างๆที่เกิดขึ้นในโคเคลีย การศึกษาโปรติโอมิกส์เชิงปริมาณในครั้งนี้พบว่าการได้รับเสียงดังนั้นส่งผลให้เกิดสภาวะความเป็นพิษต่อโปรตีน (Proteotoxicity) ที่มาและความสำคัญ การศึกษาถึงการตอบสนองของระบบประสาทการได้ยินในโคเคลีย ต่อการกระตุ้นของเสียงที่อยู่ในระดับที่เป็นมลภาวะทางเสียง การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับโปรตีและทรานสคริปโตม เพื่อที่จะได้มาซึ่งข้อมูลของโปรตีนและยีนที่สามารถนำมาใช้เป็นเป้าหมายในการรักษาหรือป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากมลภาวะทางเสียงได้ Summary Exposure to excessive sound causes noise-induced hearing loss through complex mechanisms and represents a common […]
-
-
-
-
-
-