SDGs 2023
-
Infectious hypodermal and hematopoietic necrosis virus-like particle (IHHNV-VLP) induces peroxiredoxin expression and activity in Fenneropenaeus merguiensis
Highlight อนุภาคเสมือนไวรัส (Virus-like particle, VLP) เป็นอนุภาคที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากไม่มีจีโนมไวรัส และประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อยโปรตีนในรูปแบบซ้ำ ๆ ที่มีการเรียงตัวหนาแน่นจนกลายเป็นเปลือกหุ้มไวรัสที่มีคุณสมบัติดีเด่นในด้านกายภาพ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชนิดของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันหลังจากการฉีดอนุภาคเสมือนไวรัส IHHNV ด้วยกรรมวิธี next generation sequencing จากเนื้อเยื่อเหงือก (gill) ของกุ้งแชบ๊วย (F. merguiensis) ผลการทดลองพบว่า มียูนิยีน (Unigene) ที่เพิ่มมากขึ้นจำนวน 326 ตัวในกุ้งที่ฉีดด้วย IHHNV-VLP และยีนที่เด่นที่สุดในตระกูลแอนตี้อ๊อกซิเดชั่นคือยีน […]
-
Effect of caffeine on genes expressions of developing retinas in the chick model
Highlight มีรายงานว่าการดื่มคาเฟอีนปริมาณมากในช่วงการตั้งครรภ์มีผลต่อการพัฒนาของเนื้อเยื่อประสาทระหว่างการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ในการศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ผลของคาเฟอีนที่มีต่อการพัฒนาของชั้นเรตินา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อประสาทที่อ่อนไหวที่สุดในตัวอ่อนไก่ การติดตามการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทั้งความหนาและการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อประสาท โดยใช้การบ่งบอกของยีน 3 ตัว ได้แก่ Atoh7, FoxN4 และ Lim1 เมื่อให้คาเฟอีนที่ความเข้มข้น 15 ไมโครโมลาร์ เป็นโดสตั้งต้นและให้เพียงโดสเดียวที่ระยะตัวอ่อน E1เมื่อติดตามความหนาของชั้นเรตินาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่ตัวอ่อนระยะ E7และ E9 และยีนที่มีการแสดงออกเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ Atoh7 ในขณะที่ FoxN4 และ Lim1 มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในการพัฒนาชั้นเรตินา เมื่อใช้การตรวจวัดปริมาณของยีนด้วยเทคนิค Quantitative polymerase chain reaction […]
-
Shrimp thrombospondin (TSP): presence of O-β1,4 N-acetylglucosamine polymers and its function in TSP chain association in egg extracellular matrix
Highlight การวิเคราะห์การมีอยู่ของโพลีเมอร์ที่เชื่อมต่อกันด้วย O-β(1,4)-GlcNAc polymers (β1,4GNP) ที่ยึดเหนี่ยวบน O-linked glycosylation ของ thrombospondin (pmTSP-II) เราพบว่ามี β1,4GNP จำนวน 5 ตัวที่เชื่อมอยู่บนโดเมนคล้ายโกรทแฟคเตอร์เนื้อเยื่อบุของ pmTSP-II การใช้แอนติบอดี้ต่อ O-β-GlcNAc (CTD110.6) เพื่อพิสูจน์การเชื่อมต่อของ β1,4GNP แบบเป็นสายหรือโครงสร้างซับซ้อน พบว่าแอนตี้บอดี้ทำปฏิกิริยากับการเรียงตัวของน้ำตาล 3, 4 และ 5 ตัวที่นำไปต่อเชื่อมกับไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ (phosphatidylethanolamine) […]