Research output
-
Neurorescue Effects of Frondoside A and Ginsenoside Rg3 in C. elegans Model of Parkinson’s Disease
ฤทธิ์ของ Frondoside A และ Ginsenoside Rg3 ในการฟื้นฟูเซลล์ประสาทจากโรคพาร์กินสันในสัตว์ทดลองต้นแบบ Caenorhabditis elegans Highlight: สาร frondoside A จากปลิงทะเล และ ginsenoside Rg3 จากโสม สามารถลดการฟื้นฟูเซลล์ประสาทจากการถูกทำลาย และลดการเกาะกลุ่มของโปรตีนแอลฟ่าซิลนิวคลิอิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคพาร์กินสัน โดยสารสกัดทั้งสองออกฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการ apoptosis การกระตุ้นเอ็นไซม์ต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นกระบวนการย่อยสลายโปรตีนที่ผิดปกติภายในเซลล์ ที่มาและความสำคัญ โรคพาร์กินสันเกิดจากการสูญเสียเซลล์ประสาทสร้างโดปามีนและการสะสมของโปรตีนแอลฟ่าซิลนิวคลิอินในเซลล์ โดยในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันอย่างมีประสิทธิภาพ และการรักษาที่มีอยู่เป็นเพียงการประคับประคองและรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารสกัดซาโปนินมีผลในการป้องกันเซลล์ประสาทในโรคความเสื่อมของระบบประสาทได้ […]
-
Dual VP28 and VP37 dsRNA encapsulation in IHHNV virus-like particles enhances shrimp protection against white spot syndrome virus
Highlight: ปัจจุบัน ได้มีหลักฐานของการใช้บรรจุภัณฑ์นาโนที่บรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ (dsRNA) เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสในกุ้งที่สามารถหวังผลสัมฤทธิ์ได้สูง ในการศึกษาครั้งนี้ เราจึงทดสอบการใช้บรรจุภัณฑ์นาโนเพื่อบรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ 2 ชนิดพร้อมกัน (Co-encapsulation) คือ สารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP28 และ VP37 ของไวรัสก่อโรคตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (WSSV) จำนวนอย่างละ 5 ไมโครกรัม เพื่อทดสอบความสามารถในการลดปริมาณเชื้อไวรัสในกุ้ง ผลการทดลองพบว่า สารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP37 สามารถบรรจุเข้าไปในช่องว่างของบรรจุภัณฑ์นาโนได้มากกว่าสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ต่อโปรตีน VP28 และให้ผลในการป้องกันเชื้อไวรัส WSSV ได้ดีกว่าการบรรจุสารพันธุกรรมออกฤทธิ์เพียงชนิดเดียว โดยทดสอบจากปริมาณของยีนและจำนวนตัวไวรัส […]
-
Chimeric virus-like particles (VLPs) designed from shrimp nodavirus (MrNV) capsid protein specifically target EGFR-positive human colorectal cancer cells
Highlight: บรรจุภัณฑ์นาโนที่พัฒนามาจากเปลือกหุ้มไวรัสของกุ้งก้ามกราม สามารถขนส่งพลาสมิดหรือสารพันธุกรรมออกฤทธิ์ (dsRNA) เข้าไปยังเซลล์แมลงเพาะเลี้ยง หรือเนื้อเยื่อของกุ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มวิจัยของเราจึงได้ดัดแปลงบรรจุภัณฑ์นาโนดังกล่าว เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กับการขนส่งยา เข้าสู่เซลล์มะเร็งแบบเฉพาะเจาะจง โดยการดัดแปลงผิวภายนอกของบรรจุภัณฑ์ด้วยเปปไทด์ GE11 ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อตัวรับ EGFR บนผิวเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ (SW480) ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนผิวของบรรจุภัณฑ์นาโน ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือชนิดการแทนที่ลำดับกรดอะมิโน (R-MrNV) ชนิดการแทรกลำดับกรดอะมิโน (I-MrNV) และชนิดต่อขยายส่วนปลาย C ของโปรตีนเปลือกหุ้ม (E-MrNV) ผลการทดลองพบว่า บรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 […]
-
Calcineurin subunit B is involved in shell regeneration in Haliotis diversicolor
แคลซินิวรินบี เกี่ยวข้องกับการสร้างเปลือกหอยเป๋าฮื้อ Highlight: คุณสมบัติของเปลือกหอยจะประกอบด้วยชั้นของแคลเซียมคาร์บอเนต ที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นย่อยของเปลือกหอย โดยการเรียงตัวของสารเกลือแร่เหล่านี้จะถูกควบคุมโดยยีนและโปรตีนที่สร้างออกมาจากเนื้อเยื่อส่วนแมนเทิลที่อยู่ใต้เปลือกหอยนั่นเอง ในการทดลองนี้ เราได้จำลองกระบวนการการทำลายขอบของเปลือกหอย และทดสอบความเกี่ยวข้องของยีนแคลซินูริน ชนิดเอ และ บี (HcCNA & HcCNB) ในการกระตุ้นการสร้างเปลือกทดแทน ผลการทดลองพบว่า ในหอยที่มีการทำลายขอบของเปลือก จะมีระดับยีนของ HcCNB มีการเพิ่มจำนวนสูงมาก เมื่อเทียบกับยีนส์ HcCNA การทดลองฉีดโปรตีน recHcCNB ที่สร้างจากกระบวนการพันธุวิศวกรรม มีผลในการกระตุ้นการเจริญของเปลือกในบริเวณที่ถูกทำลายได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างควบคุม การสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) […]
-
-
-
-
-
-